![]() |
ผลของวิธีการทำแห้งต่อคุณสมบัติทางเคมีกายภาพ และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของใบคะน้าเม็กซิโก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ทอรุ้ง ประนิล |
Title | ผลของวิธีการทำแห้งต่อคุณสมบัติทางเคมีกายภาพ และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของใบคะน้าเม็กซิโก |
Contributor | ยลดา ถินวิสัย |
Publisher | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 1 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 27-40 |
Keyword | คะน้าเม็กซิโก, การทำแห้ง, สารประกอบฟีนอลิก, สารประกอบฟลาโวนอยด์, กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/ |
Website title | วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2821-9406 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทำแห้ง 3 วิธี คือ การทำแห้งแบบถาด การทำแห้งแบบลูกกลิ้งคู่ และการทำแห้งแบบระเหิด ที่มีผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของใบคะน้าเม็กซิโกผง พบว่า ใบคะน้าเม็กซิโกที่ผ่านการทำแห้งแบบระเหิดจะมีปริมาณความชื้นต่ำที่สุด (4.07±0.11%) มีค่าความสว่าง และค่าสีเขียวสูงสุด (L*=49.01±1.34 และ b*=19.67±1.50) นอกจากนี้ ใบคะน้าเม็กซิโกที่ผ่านการทำแห้งแบบระเหิดมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์สูงสุด (16.02±0.21 mg GAE /g และ 123.33±11.96 mg Qucertin/g) รวมถึงมีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP Assay สูงที่สุด (80.61±0.53 mg/g) เมื่อเปรียบเทียบกับการทำแห้งแบบถาด (71.32±0.31 mg/g) และการทำแห้งแบบลูกกลิ้ง (59.66±0.22 mg/g) อย่างไรก็ตาม วิธีการอบแห้งไม่มีผลต่อสารพฤกษเคมีในใบคะน้าเม็กซิโก ดังนั้น การทำแห้งแบบระเหิดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาคุณภาพทางด้านกายภาพ และทางเคมีของคะน้าเม็กซิโก |