ที่มาของโครงการ

ความเป็นมา DOI ในประเทศไทย

                DOI ในประเทศไทย เกิดจากแนวคิดของศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ  เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ลวช.) ที่เล็งเห็นประโยชน์ของการใช้รหัส DOI เพื่อตรวจสอบความซ้ำซ้อนของโครงการวิจัย จึงได้มอบหมายให้ศูนย์สารสนเทศการวิจัยศึกษาข้อมูล DOI เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ด้านเอกสารดิจิทัล และใช้ตรวจสอบความซ้ำซ้อนโครงการวิจัย ทั้งนี้ศูนย์สารสนเทศการวิจัย ได้ศึกษาข้อมูล DOI ผลการศึกษาข้อมูล DOI พบว่า DOI เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และมีประโยชน์กับห้องสมุดดิจิทัล  หากจะนำรหัส DOI มาใช้กับศูนย์สารสนเทศการวิจัย จะสามารถนำรหัส DOI มาใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของโครงการวิจัย ซึ่งการขอรหัส DOI จะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยงานที่เป็นองค์กรรับจดทะเบียน (Registration Agencies : RA) โดยศูนย์สารสนเทศการวิจัยได้นำเสนอรายงานผลการศึกษาข้อมูล DOI เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 ต่อมาผู้บริหารให้ความเห็นชอบ นางสาวเพชรา สังขะวร ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศการวิจัย จึงได้จัดทำโครงการรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล (Digital Object Identifier : DOI) ขึ้น และจัดประชุมบุคลากร โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญเรื่อง DOI ได้แก่ รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้ความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามลำดับ

 

               ประเทศไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักของประเทศที่ชี้นำการพัฒนาประเทศโดยการวิจัยและพัฒนา รวมถึงเป็นผู้นำในการพัฒนาระบบวิจัยของชาติ หนึ่งในหน้าที่หลักของ วช. โดยศูนย์สารสนเทศการวิจัย คือ การเป็นศูนย์กลางข้อมูลการวิจัยโดยมีระบบสารสนเทศที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นองค์กรหลักในการกำหนดรหัสดีโอไอของงานวิจัยในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ วช. จึงได้ดำเนินการพัฒนาระบบการกำหนดรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกแบบเต็ม (Full member) กับองค์กรรับจดทะเบียน (RA) คือ DataCite ณ ประเทศเยอรมนี  ซึ่งสนับสนุนการใช้รหัส DOI กับงานวิจัยและงานวิชาการระดับอุดมศึกษา โดยได้รับการอนุมัติเป็นสมาชิกลำดับที่ 17 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2555 ในการประชุม 4thDataCite General AssemblyLeibniz-Institute for the Social Science (GESIS) เมืองโคโลญจน์ ประเทศเยอรมนี  ซึ่ง วช. ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อนำเสนอภารกิจของ วช. ในฐานะศูนย์สารสนเทศด้านการวิจัยของประเทศ ที่สมควรเป็นองค์กรในการกำหนด รหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล (DOI) ของงานวิจัยในประเทศไทย

              ทั้งนี้การเป็นสมาชิกระดับ Full  member ทำให้ประเทศไทยได้ปักหมุดในฐานะสมาชิกลงในแผนที่ DOI ของ DataCite คือ เป็นหน่วยงานแรก ในประเทศไทย และเป็น 1 ใน 4 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไทย) ของภูมิภาคเอเชีย ที่เป็นสมาชิกขององค์กรรับจดทะเบียนรหัส DOI  วช. จึงสามารถให้บริการรหัส DOI ตามมาตรฐานสากลสำหรับงานวิจัยและงานวิชาการแก่หน่วยงานวิจัยในประเทศไทยได้อย่างเต็มรูปแบบ

ทำไมต้อง DataCite

DataCite เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. สร้างการเข้าถึงข้อมูลการวิจัยง่าย
2. เพิ่มการยอมรับข้อมูลการวิจัยที่ถูกต้องตามกฎหมายมีส่วนร่วมในการบันทึกทางวิชาการ

3. สนับสนุนการเก็บข้อมูลเพื่อให้ผลที่จะได้รับการตรวจสอบและปรับเปลี่ยนการใช้สำหรับการศึกษาในอนาคต

จากการที่  DataCite  สนับสนุนการใช้รหัส DOI กับงานวิจัยและงานวิชาการระดับอุดมศึกษา ซึ่งตรงกับนโยบายของ วช. ที่เน้นในด้านข้อมูลวิจัย ดังนั้น วช.จึงเลือกสมัครสมาชิกกับ DataCite ทั้งนี้ วช. จะเป็นหน่วยงานลูกของ DataCite โดยเป็นผู้บริหารจัดการรหัส DOI ให้กับข้อมูลวิจัยของประเทศ  ปัจจุบัน DataCite มีสมาชิกทั่วโลก 42 ประเทศ รวม 220 แห่ง 

นอกจากนี้ DataCite ยังมีการดำเนินงานที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น เป็นองค์กรสมทบกับ Research Data Alliance (RDA)ความร่วมมือกับ Re3data การรับรองมาตรฐานภายนอกรวมทั้งการอ้างอิงข้อมูล ตั้งกลุ่มทำงานเฉพาะกิจที่ดูปัญหาการทำดัชนี รวมทั้งทอมสันรอยเตอร์ และ Scopus 

erkek isimleri

kız isimleri

gebelik hesaplama

yumurtlama hesaplama

hafta hafta gebelik

gebelik testi