ดีโอไอ คือ รหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือเอกสารดิจิทัล เป็นตัวบ่งชี้ถาวรของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล ซึ่งมีเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมโยงไฟล์ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลจากรหัสดีโอไอ มีการจัดการฐานข้อมูลเมทาดาทา (Metadata) และการอ้างถึง รหัสนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานที่ ที่ใช้จัดเก็บ หรือสิทธิการเป็นเจ้าของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลนั้น ดีโอไอเป็นเลขมาตรฐานสากลประจำทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล โดยได้รับมาตรฐานสากล ISO 26324: 2012 Information and documentation นอกจากนี้ DOI® ยังเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนโดยมูลนิธิ DOI นานาชาติ (The International DOI Foundation: IDF) (http://www.doi.org) ที่ก่อตั้งเมื่อปี คศ.1998
โครงสร้างของรหัสดีโอไอ ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ ส่วนแรก (Prefix) และส่วนเติม (Suffix) ซึ่งส่วนแรกจะขึ้นต้นด้วยเลข 10 ตามด้วยเลข 1 ชุด ตามด้วยเครื่องหมายทับ (/) และหลังเครื่องหมายทับ (/) เป็นส่วนเติม โดยสามารถใช้งานร่วมกับเลขมาตรฐานสากลอื่นๆ เช่น ISBN หรือ ISSN ได้
ตัวอย่างรหัสดีโอไอที่ออกโดย วช.
doi: 10.14456/tbps.2010.13
doi: 10.14457/CU.the.2010.1
doi: 10.14457/KMITL.res.2012.24
เลขส่วนแรก (Prefix) วช. กำหนดใช้เลข Prefix จาก DataCite จำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้
10.12755 หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานรัฐประเภทอื่นๆและหน่วยงานเอกชน
10.14456 บทความวารสาร
10.14457 สถาบันการศึกษาภาครัฐ
10.14458 สถาบันการศึกษาเอกชน
เลขส่วนเติม (Suffix) วช.กำหนดใช้กลุ่มเลข Suffix แบ่งย่อยตามประเภททรัพยากรที่ดำเนินการ
ตัวอย่างเช่น 10.14457/CU.the.2014.1
10.14457 Prefix ของหน่วยงานสถาบันการศึกษาภาครัฐ
CU อักษรย่อของหน่วยงานสถาบันการศึกษาภาครัฐ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
the ย่อมาจาก thesis (วิทยานิพนธ์)
2014 ปี ค.ศ. ที่เผยแพร่ ในที่นี้คือปี 2014
1 ลำดับทรัพยากรสารสนเทศตาม running no. ในที่นี้คือ ลำดับ 1
ประเภทข้อมูล Suffix
the วิทยานิพนธ์ res รายงานวิจัย journal บทความวารสาร img รูปภาพ fas ภาพยนตร์/แอนิเมชัน/เสียง doc เอกสาร obj วัตถุดิจิทัล
นโยบายฉบับนี้ จัดขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการลงทะเบียนของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล ในการขอรับรหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่สำหรับผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ โดยให้คำจัดกัดความ ดังนี้
ดีโอไอ หมายถึง ตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) (Digital Object Identifier : DOI)
วช. หมายถึง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ผู้ให้บริการ หมายถึง กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วช.
ผู้รับบริการ หมายถึง หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานของรัฐประเภทอื่น ๆ หน่วยงานเอกชน สมาคม องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษาภาครัฐ และสถาบันการศึกษาเอกชน
ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หมายถึง ทรัพยากรที่สามารถจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล โดย กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมวช. กำหนดเป็น 7 ประเภท ดังนี้
1) รายงานวิจัย (Research : res) ได้แก่ รายงานวิจัย การค้นคว้าแบบอิสระ, การค้นคว้าแบบอิสระเชิงวิทยานิพนธ์, รายงานการค้นแบบอิสระ, รายงานการค้นคว้าอิสระ, โครงการศึกษาพิเศษ, โครงการศึกษาวิจัย, โครงการเฉพาะเรื่อง, ปัญหาพิเศษ, ภาคนิพนธ์, สารนิพนธ์ ตามที่มหาวิทยาลัยต่างๆ กำหนดให้เป็น รายงานวิจัย
2) วิทยานิพนธ์ (Thesis : the) ได้แก่ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์/ สารนิพนธ์ ตามที่มหาวิทยาลัยต่างๆ กำหนดให้เป็น วิทยานิพนธ์
3) บทความวารสาร (Article : กำหนดใช้ชื่อย่อวารสารภาษาอังกฤษ) ได้แก่ บทความวารสาร ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาออกที่แน่นอน มีเลขปีที่ เลขฉบับที่ วันเดือนปี และมาตรฐานสากลประจำวารสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแบบออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต
4) รูปภาพ (Image : img) ได้แก่ รูปภาพและการออกแบบ, Poster, ใบงาน, กรณีศึกษา, ข้อมูลภาพปฐมภูมิ, Info graphic, บรรยาย, กิจกรรมและLabs, สไลด์สื่อนำเสนอ, Full Course, สื่อปฏิสัมพันธ์, แผนที่, กราฟ, แผนภูมิ/แผนผัง, Unit of Study, ภาพเอกสารจดหมายเหตุ, ภาพ 3D Object, Power point
5) ภาพยนตร์/แอนิเมชัน/เสียง (Film/Animation/Sound : fas) ได้แก่ VDO Clip, คลิปการเรียนรู้, Flash Clip, Resource Review, แอนิเมชัน, ตัวการ์ตูน, ภาพเคลื่อนไหว, คลิปเสียง
6) เอกสาร (Document : doc) ได้แก่ หนังสือ, จดหมาย, บทความ, Textbooks, กฎหมาย ระเบียบ, คำศัพท์ คำนิยาม ความหมาย, กลยุทธ์การสอน, ประมวลวิชา, ข้อสอบ, แบบฝึกหัด, Simulations, แผนการสอน, อ้างอิง, บทสัมภาษณ์, ข่าว, ข้อมูลเอกสารปฐมภูมิ, รายงานประจำปี, คู่มือ, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
7) วัตถุดิจิทัลอื่นๆ (Oject : obj) ได้แก่ ฟอนต์,Mobile App, Software, โปรแกรมคอมพิวเตอร์, เกม และอื่น ๆ
1. ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่ต้องการขอรหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) จะต้องเป็นข้อมูลที่สามารถเผยแพร่ได้ และมีประโยชน์ต่อการศึกษา การวิจัย
2. รหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) จะไม่มีความซ้ำซ้อนกัน
3. รหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) 1 รหัส กำหนดใช้สำหรับทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือวัตถุดิจิทัล 1 ชิ้นงานเท่านั้น
4. รหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำหรับบทความวารสาร กำหนดใช้ บทความละ 1 รหัส และ ไม่ซ้ำกัน
5. ผู้รับบริการจะได้รับการแจ้งรหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) อย่างช้าไม่เกิน 7 วัน หลังจากนำข้อมูลเข้าระบบ NRCT’s LSH ของ วช. ถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว
6. งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความวารสาร และวัตถุดิจิทัลอื่น ๆ ที่สามารถนำมาขอรับรหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) จะต้องมีปีที่เผยแพร่ เป็นปีปัจุบัน และปีย้อนหลังเท่านั้น
7. งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความวารสาร และวัตถุดิจิทัลอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้ระบุปีที่เผยแพร่ ไม่สามารถนำมาขอรับรหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) ได้
1. กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วช. เป็นศูนย์กลางในการลงทะเบียน ทำหน้าที่จัดสรรรหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ)ในส่วนแรก (Prefix) และส่วนเติม (Suffix) ให้กับผู้รับบริการ ตามรูปแบบที่ วช. กำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
2. กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วช. เป็นศูนย์รวมข้อมูลกลาง (Data Center) ของประเทศไทย ที่ดำเนินการจัดส่งข้อมูลให้แก่ DataCite รวมถึงบริหารจัดการเมทาดาทา
3. ผู้รับบริการต้องระบุตัวตนโดยสมัครสมาชิก กับ กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วช.
4. ผู้รับบริการต้องนำข้อมูลเข้าระบบ NRCT’s Local Handle System โดยเลือกประเภทข้อมูลที่ต้องการนำเข้า และกรอกข้อมูลเมทาดาทา URL ไฟล์ดิจิทัล ลงในไฟล์ต้นแบบCSV ให้ถูกต้องครบถ้วน
5. ผู้รับบริการต้องแปลงไฟล์ข้อมูลให้อยู่ในรูป PDF และปลดล็อค User name, Password จากเว็บไซต์ของตนเอง เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา
6. ผู้รับบริการรหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) ต้องเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ของตนเอง ให้มีความเสถียร เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา
7. ผู้รับบริการต้องเป็นผู้ประกันความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยข้อมูลที่นำมาขอรับบริการรหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) จะต้องมีพร้อมให้บริการ และไม่มีการแก้ไขข้อมูล
8. กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วช. ไม่สามารถจัดเก็บไฟล์ดิทัล ของ ภาพยนตร์/แอนิเมชัน/เสียง ในคลังข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) ของ วช. เนื่องจาก มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่จัดเก็บข้อมูล
9. ผู้รับบริการที่ต้องการลบรหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) หรือแก้ไขข้อมูลเมทาดาทา และไฟล์ดิจิทัล จะต้องทำหนังสือแจ้งความประสงค์ พร้อมระบุเหตุผลที่ขอลบ หรือแก้ไขข้อมูล
10. กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วช. สามารถเผยแพร่ข้อมูลของผู้รับบริการ ผ่านเว็บไซต์เครือข่าย โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษา ค้นคว้าวิจัย มิใช่เชิงพาณิชย์
1. รหัสดีโอไอไม่ได้แสดงถึงการได้รับสิทธิ์ของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
2. กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วช. ไม่อนุญาตให้นำรหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) ไปใช้ประโยชน์ ด้านการค้า อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงแก้ไขไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
3. ผู้รับบริการต้องเป็นผู้รับผิดชอบข้อมูล โดยข้อมูลที่นำมาขอรับบริการรหัสตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) จะต้องเป็นข้อมูลที่เผยแพร่ได้ ไม่ปกปิด ไม่มีปัญหาลิขสิทธิ์
4.กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วช. จะไม่รับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูล ความลับ หรือข้อมูลเอกสิทธิ์ ของผู้รับบริการ