![]() |
การจัดการองค์ความรู้เพื่อการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน: การประดิษฐ์พวงมโหตร (พวงมาลัยอีสาน) |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ชุติพงศ์ คงสันเทียะ |
Title | การจัดการองค์ความรู้เพื่อการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน: การประดิษฐ์พวงมโหตร (พวงมาลัยอีสาน) |
Contributor | ระพีพรรณ จันทรสา, กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์, ณัฏฐานุช เมฆรา, จุรีรัตน์ ทวยสม |
Publisher | The Office of Arts and Culture, Surindra Rajabhat University |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 1-15 |
Keyword | การจัดการองค์ความรู้, พวงมโหตร, พวงมาลัยอีสาน, การเผยแพร่ |
URL Website | https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj |
Website title | วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล |
ISSN | ISSN 2822 - 0617 (Online) |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างระบบจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาการประดิษฐ์พวงมโหตร (พวงมาลัยอีสาน) และ (2) นำองค์ความรู้ภูมิปัญญาการประดิษฐ์พวงมโหตรที่ถูกจัดระบบแล้ว มาประยุกต์โดยจัดเป็นกิจกรรมฝึกปฏิบัติเผยแพร่สู่ชุมชนท้องถิ่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยหลายขั้นตอน โดยมีวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ปราชญ์ท้องถิ่นร่วมกับการศึกษาจากเอกสารตำราเพื่อสกัดองค์ความรู้การประดิษฐ์พวงมโหตร และการสนทนากลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ และวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการถอดบทเรียนหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม (AAR) การวิเคราะห์ใช้แนวคิดการจัดการความรู้โมเดลเซกิ (SECI Model) ผลการวิจัยพบว่า มีการจัดการความรู้การประดิษฐ์พวงมโหตรจาก “ความรู้ฝังลึก” สู่ “ความรู้ที่ชัดแจ้ง” ได้แก่ ที่มา ความสำคัญ ความหมาย ลักษณะ การใช้ประโยชน์ ขั้นตอนและวิธีการทำ ในรูปแบบของสื่อต่าง ๆ แผ่นพับ ป้ายนิทรรศสาธิต และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปแคนวา เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในผู้เรียนช่วงวัยต่าง ๆ มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสู่ชุมชนท้องถิ่นจำนวน 6 ครั้ง โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจด้านการนำภูมิปัญญาไปใช้ประโยชน์เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.50) นอกจากนี้มีการติดตามผลการนำไปใช้ประโยชน์พบว่า ชุมชนมีการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์จริง ได้แก่ การนำไปใช้ประกอบงานบุญประเพณีของชุมชน การต่อยอดประดิษฐ์ด้วยวัสดุอื่นที่คงทน และมีการเผยแพร่ต่อผู้อื่น ซึ่งหมุนวนเป็นวัฏจักรตามโมเดลเซกิ |