รหัสดีโอไอ 10.14457/RMUTK.the.2010.1
Title การศึกษาความพร้อมในการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาระดับปริญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กรณีศึกษา : ครุศาสตร์อุตสากหรรม
Creator สมใจ หุตะสุขพัฒน์
Contributor มนวิภา อนันตะเศรษฐกูล, อาจารย์ที่ปรึกษา, สุญาณี เดชทองพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
Publisher มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
Publication Year 2553
Keyword มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, การเรียนการสอนผ่านเว็บ, การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
Abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเรื่องการศึกษาความพร้อมในการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กรณีศึกษา : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมและเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีภาคปกติคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลยัเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ระดับปริญญาตรีที่ได้ ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2552 จำนวนทั้งสิ้น 617คน มีแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 575 ชุด คิดเป็นร้อยละ 93.19 รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามแบบประมาณค่า (Rating Scale) แล้วนำมาประมวล ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบสมมุติฐานด้วย F-test (ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี Scheffe’ 1. ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นนักศึกษา ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชายร้อยละ 88.75กำลังศึกษาอยู่ในช้นั ปีที่1 ร้อยละ 31.48 เป็นนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ ร้อยละ 29.22 ได้รับค่าใช้จ่ายรายเดือนระหว่า ง 3,001 – 4,000 บาท ร้อยละ 30.26 มีคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้าน ร้อยละ 58.96 และ มีระยะเวลาของการใช้อินเทอร์เน็ตน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นอาจารย์ส่วน ใหญ่เป็นอาจารยป์ระจำสาขาวชิาเทคนิคศึกษาร้อยละ24.45 2. ในภาพรวม นักศึกษาประเมินตนเองว่า มีความพร้อมในการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งอยู่ใน ระดับมาก (x̅ = 3.86) ส่วนอาจารยป์ระเมินว่า นักศึกษามีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.13) สำหรับ ความพร้อมรายด้าน นักศึกษาประเมินว่า ตนเองมีความพร้อมทั้ง 6ด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน 3. จากการศึกษาความพร้อมในการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งจำแนกตามสาขาวิชา นักศึกษาทั้ง 6 สาขาวิชา ประเมินว่า ตนเองมีความพร้อมในระดับมากยกเว้น นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีโลหการ มีความพร้อมในระดับปานกลาง 4. เมื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษา ทั้ง 7 สาขาวิชา พบว่า นักศึกษาที่อยู่ต่างสาขาวิชามีความพร้อมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 5. จากการศึกษาความพร้อมในการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง จำ แนกตามชั้นปีนักศึกษาทุกชั้นปี ประเมินว่า มีความพร้อมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมากโดยชั้นปีที่1 มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅ = 3.97) และน้อยที่สุด ได้แก่ชั้นปีที่3 (x̅ = 3.76) นอกจากนี้นักศึกษาทุกชั้นปียังเห็นสอดคลอ้งกันว่า นักศึกษามีความพร้อมด้านการ เข้าถึงเทคโนโลยีและด้านทักษะพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีมากที่สุด ส่วนด้านทักษะการใช้งานสื่อ (เสียง) มี ความพร้อมน้อยที่สุด 6. เมื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาทั้ง 4 ชั้นปีพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่1กับชั้นปีที่3และนักศึกษาชั้นปีที่1กับชั้นปีที่4 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
Language TH
URL Website https://dspace.rmutk.ac.th
Website title คลังความรู้ UTK
ดิจิตอลไฟล์ Digital File

บรรณานุกรม

สมใจ หุตะสุขพัฒน์ และผู้แต่งคนอื่นๆ. (2553) การศึกษาความพร้อมในการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาระดับปริญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กรณีศึกษา : ครุศาสตร์อุตสากหรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ:ม.ป.ท.
สมใจ หุตะสุขพัฒน์ และผู้แต่งคนอื่นๆ. 2553. การศึกษาความพร้อมในการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาระดับปริญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กรณีศึกษา : ครุศาสตร์อุตสากหรรม. ม.ป.ท.:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ;
สมใจ หุตะสุขพัฒน์ และผู้แต่งคนอื่นๆ. การศึกษาความพร้อมในการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาระดับปริญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กรณีศึกษา : ครุศาสตร์อุตสากหรรม. ม.ป.ท.:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 2553. Print.