![]() |
ผลของการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิก |
Creator | กนกพรรณ นิกรเพสย์ |
Contributor | สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2560 |
Keyword | เมทาบอลิกซินโดรม -- ผู้ป่วย, เภสัชกรกับผู้ป่วย, Metabolic syndrome -- Patients, Pharmacist and patient |
Abstract | การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเพื่อเปรียบเทียบผลของการควบคุมองค์ประกอบทางเมแทบอลิก ได้แก่ เส้นรอบเอว ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ระดับเอชดีแอลในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิต ระหว่างผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิกที่ได้รับคำแนะนำโดยเภสัชกรร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ (กลุ่มทดลอง) และ ผู้ป่วยที่ได้รับคำแนะนำโดยเภสัชกรเพียงอย่างเดียว (กลุ่มควบคุม) ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ระหว่างเดือน มกราคม 2560 ถึง กันยายน 2560 โดยผู้ป่วยทุกรายได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมและคำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นรายบุคคลโดยผู้วิจัย 2 ครั้ง ห่างกัน 9-12 สัปดาห์ จากนั้นเฉพาะกลุ่มทดลองได้รับการติดตามทางโทรศัพท์รวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง มีผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัย 231 ราย เป็นกลุ่มทดลอง 107 ราย กลุ่มควบคุม 124 ราย เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีองค์ประกอบทางเมแทบอลิกไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการศึกษาพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีเส้นรอบเอวของเพศชาย (P=0.018) ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด (P<0.001) ระดับเอชดีแอลในเลือดทั้งเพศชายและหญิง (P=0.037 และ P=0.011) ระดับน้ำตาลในเลือด (P=0.027) และระดับความดันโลหิตทั้ง SBP และ DBP (P<0.001 และ P=0.009) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผู้ป่วยในกลุ่มทดลองพบว่ามีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด (P=0.027) และระดับความดันโลหิตทั้ง SBP และ DBP (P=0.013 และ P=0.008) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการให้คำปรึกษาโดยเภสัชกรร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิกนั้นสามารถทำให้องค์ประกอบทางเมแทบอลิกส่วนใหญ่ดีขึ้นได้ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |