ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าในเขตภาคกลาง
รหัสดีโอไอ
Title ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าในเขตภาคกลาง
Creator มุจรินทร์ พุทธเมตตา
Contributor รังสิมันต์ สุนทรไชยา
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2557
Keyword ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ, โรคซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ, Depression in old age, Psychotic depression, Older people
Abstract การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ความสามารถ ในการรู้คิด การดื่มแอลกอฮอล์ เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความเข้มแข็งทางใจ การสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการทำหน้าที่ ความเชื่อทางศาสนา กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้า และมารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 176 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย 3) แบบประเมินเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต 4) แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 5) แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ 6) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม 7) แบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ และ 8) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน พบค่าความตรงอยู่ระหว่าง .88 ถึง 1.00 และค่าความเที่ยงของเครื่องมือชุดที่ 2-8 อยู่ระหว่าง .811 ถึง .962 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า พบอยู่ในระดับเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 65.9 ระดับปานกลาง ร้อยละ 30.7 และระดับรุนแรง ร้อยละ 3.4 2. เพศ มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า (r=.242, p<.01) 3. การดื่มแอลกอฮอล์ และเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า (r=.238, p<.01 และ r=.435, p<.01 ตามลำดับ) 4. ความสามารถในการรู้คิด ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความเข้มแข็งทางใจ การสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการทำหน้าที่ และความเชื่อทางศาสนา มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า (r=-.181, p<.05, r=-.318, p<.01, r=-.320, p<.01, r=-.331, p<.01, r=-.362, p<.01 และ r=-.179, p<.05 ตามลำดับ) 5. การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ