รหัสดีโอไอ | 10.14457/CU.the.2012.1844 |
---|---|
Title | กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักการเมืองบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง |
Creator | ปอรรัชม์ ยอดเณร |
Contributor | ชนิตา รักษ์พลเมือง, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | นักการเมือง, การเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง, Politicians, Transformative learning |
Abstract | การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิควิธีการศึกษาแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมือง 2) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักการเมืองบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักการเมืองบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 1) จากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์และการสำรวจความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างนักการเมืองและกลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 649 คน พบว่าคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมืองแบ่งออกเป็น 4 ด้าน โดยแต่ละด้านให้ความสำคัญแต่ละเรื่อง ดังนี้ ด้านพฤติกรรมเรื่องการมีมนุษยสัมพันธ์และความรับผิดชอบ ด้านจิตใจเรื่องการเสียสละเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ด้านความคิดเรื่องการเป็นผู้มีความคิดแบบมีวิสัยทัศน์ และด้านความรู้เรื่องการเป็นพลเมืองที่ดีและการสร้างจิตสาธารณะ 2) จากการใช้เทคนิควิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยนำคุณลักษณะที่พึงประสงค์มายกร่างกระบวนการ จัดการเรียนรู้บนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและกิจกรรมตามแนวจิตตปัญญาศึกษา (R1) เมื่อนำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อคัดเลือก ทำให้ได้เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง (D1) ประกอบด้วยการเรียนรู้ 4 ส่วน คือการกระตุ้นการเรียนรู้ภายใน การเรียนรู้เชิงกระบวนการกลุ่ม การตระหนักรู้ถึงสังคมและส่วนรวมและการสร้างสรรค์แนวทางใหม่ จากนั้นจึงนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักการเมืองและผู้ที่จะเป็นนักการเมืองในอนาคตจำนวน 18 คน ครั้งที่ 1 (R2) พบว่าเกิดการกระตุ้นการเรียนรู้ภายในและการเรียนรู้เชิงกระบวนการกลุ่มส่งผลให้เกิดคุณลักษณะด้านพฤติกรรมเรื่องมนุษยสัมพันธ์และคุณลักษณะด้านความรู้เรื่องการเป็นพลเมืองที่ดี ผู้วิจัยจึงได้ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการ (D2)โดยประชุมกลุ่มกระบวนกร และผู้เชี่ยวชาญเพื่อเพิ่มการเรียนรู้เชิงกระบวนการกลุ่มและการตระหนักถึงสังคมและส่วนรวมก่อนนำไป ทดลองครั้งที่ 2 (R3) พบว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถเกิดการสร้างสรรค์แนวทางใหม่ได้ด้วยตนเอง แต่ยังไม่ถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ อย่างไรก็ดี พบว่าจากการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างสามารถตระหนักถึงคุณลักษณะต่างๆ ดังนี้ คุณลักษณะด้านพฤติกรรมเรื่องการเป็นผู้ยอมรับฟังความคิด เห็นของผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อการกระทำและคำพูดของตนเองและความซื่อตรงต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย คุณลักษณะด้านจิตใจเรื่องการเป็นผู้มีจิตใจกว้างขวางยอมรับสิ่งใหม่ การเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความเข้าใจในความแตกต่างและคำนึงถึงผู้อื่น คุณลักษณะด้านความคิดเรื่องการคิดเชิงกลยุทธ์การรู้จักแก้ปัญหาวางแผนและสร้างโอกาสรวมถึงการคิดแบบประนีประนอม และคุณลักษณะด้านความรู้ เรื่องภาวะผู้นำทางการเมือง ผู้วิจัยจึงประมวลผลและสังเคราะห์เป็นรูปแบบกระบวนการ จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักการเมืองบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (D3) 3) จากการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus group discussion) พบว่ากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะ ของนักการเมืองต้องมีขั้นตอนในการดำเนินการ 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) การกำหนดเป้าหมายที่สัมพันธ์กับคุณลักษณะที่ พึงประสงค์ของนักการเมือง (2) การกำหนดเนื้อหาต้องสะท้อนถึงเป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงและเป้าหมายการเรียนรู้ ต้องสะท้อนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมือง (3) การออกแบบกระบวนการต้องทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ใหม่ เชื่อมโยงประสบการณ์เดิม เกิดการใคร่ครวญ และแลกเปลี่ยนเชิงประสบการณ์การเมือง (4) การคัดเลือกกระบวนกร ต้องมีประสบการณ์ทางการเมืองและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (5) การลงมือปฏิบัติหรือการทดลองต้องต่อเนื่องและยืดหยุ่น (6) การสร้างบรรยากาศต้องผ่อนคลายเท่าเทียมและเป็นประชาธิปไตย (7) การสรุปและถอดบทเรียน ต้องเน้นการแลกเปลี่ยน อย่างมีวิจารณญาณและการรับฟังอย่างลึกซึ้ง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |
ดิจิตอลไฟล์ |
Digital File #1 |