![]() |
อำนาจในการบังคับใช้กฎหมายของคณะกรรมการตดีพิเศษ (กคพ.) : ศึกษาเปรียบเทียบกับคณะกรรมการ ปปง. และคณะกรรมการ ป.ป.ส. |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | อำนาจในการบังคับใช้กฎหมายของคณะกรรมการตดีพิเศษ (กคพ.) : ศึกษาเปรียบเทียบกับคณะกรรมการ ปปง. และคณะกรรมการ ป.ป.ส. |
Creator | เพรวรรณ ขำตุ้ม |
Contributor | วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2551 |
Keyword | การสืบสวน, การฟอกเงิน -- การสืบสวน, Investigations, Money laundering -- Investigations |
Abstract | กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับมูลฐานความผิดที่ใกล้เคียงกัน ในขณะที่แต่ละหน่วยงานต่างก็มีคณะกรรมการซึ่งเป็นองค์กรในระดับบริหารที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย มาตรการและวางหลักเกณฑ์ต่างๆของหน่วยงานนั้นๆเอง โดยที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นภายหลังสุด และมีการนำมาตรการพิเศษใหม่ๆในการสืบสวน สอบสวนมาใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ ซึ่งก็อาจจะทำให้ส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้ โดยองค์กรที่มีอำนาจในการกำหนดให้ความผิดอาญาใดที่จะถือเป็นคดีพิเศษ และกรมสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจในการดำเนินคดีนั้นก็คือ คณะกรรมการคดีพิเศษ หรือ กคพ. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงความเหมาะสมของโครงสร้างและอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายของคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) โดยการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (คณะกรรมการ ปปง.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (คณะกรรมการ ป.ป.ส.) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย และเกิดสัมฤทธิผลในการป้องกัน และปราบปรามคดีพิเศษ และอาชญากรรมเฉพาะทางโดยผู้เขียนได้เสนอแนะมาตรการต่างๆเพื่อให้อำนาจในการบังคับใช้กฎหมายของคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยงานในการตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการ เพื่อป้องกันการใช้อำนาจของคณะกรรมการไปกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |