![]() |
หลักกฎหมายห้ามมิให้มีผลย้อนหลังในระบบกฎหมายไทย : ศึกษากรณีกฎหมายอื่นที่มิใช่กฎหมายที่มีโทษทางอาญา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | หลักกฎหมายห้ามมิให้มีผลย้อนหลังในระบบกฎหมายไทย : ศึกษากรณีกฎหมายอื่นที่มิใช่กฎหมายที่มีโทษทางอาญา |
Creator | ยสวดี นิลคูหา |
Contributor | คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม, กุลพล พลวัน |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2551 |
Keyword | หลักนิติธรรม -- ไทย, กฎหมาย -- การตีความ, Rule of law -- Thailand, Law -- Interpretation and construction |
Abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า หลักกฎหมายห้ามมิให้มีย้อนหลังนั้น เป็นหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งสามารถนำไปใช้กับกฎหมายอื่นที่มิได้มีโทษทางอาญาด้วย การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พุทธศักราช 2550 ) มาตรา 39 บัญญัติว่า “บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษ...” ทำให้มีการตีความว่า หลักกฎหมายห้ามมิให้มีผลย้อนหลังนั้น ใช้ได้แต่เฉพาะกับกฎหมายที่มีโทษทางอาญาเท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้กับกฎหมายประเภทอื่นได้ ในการพิจารณาว่าจะนำหลักกฎหมายดังกล่าวมาใช้กับกฎหมายใดได้บ้างนั้น มีความจำเป็นต้องพิจารณาความสำคัญของหลักกฎหมายในเรื่องนี้ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ว่า ในวันข้างหน้าจะไม่มีการออกกฎหมายมาให้มีผลย้อนหลังถึงการกระทำที่ได้ก่อให้เกิดขึ้นและสิ้นสุดไปก่อนที่จะมีกฎหมายนั้นออกมา นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และดำเนินตามครรลองของหลักนิติรัฐ คือ เป็นรัฐที่ปกครองด้วยกฎหมาย หากไม่ยึดมั่นในหลักกฎหมายห้ามมิให้มีผลย้อนหลัง ประชาชนก็จะไม่มีหลักประกันว่าสิ่งที่ได้กระทำไปในปัจจุบันนั้น ในอนาคตข้างหน้าจะมีกฎหมายย้อนหลังมาเอาผิดแก่ตนหรือไม่ และหากยอมให้กฎหมายมีผลย้อนหลังได้ในกรณีดังกล่าวแล้ว ก็จะทำให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนคลอนแคลนไม่มั่นคง เพราะขาดหลักประกันความคุ้มครอง ด้วยเหตุนี้ นานาอารยประเทศจึงไม่ได้จำกัดการนำหลักกฎหมายย้อนหลังไปใช้เฉพาะกรณีที่เป็นโทษทางอาญาเท่านั้น แต่ยังได้นำหลักกฎหมายนี้ไปใช้กับกรณีที่เป็นผลร้ายตามกฎหมายอื่นด้วย เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีต่างๆสามารถดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และสามารถคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนได้ จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรแก้ไขบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้มีบทบัญญัติในเรื่องหลักกฎหมายห้ามมิให้มีผลย้อนหลังที่มีเนื้อหาครอบคลุมกฎหมายทุกประเภทด้วย |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |