![]() |
การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประยุกต์ใช้การประเมินผลที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ตามระดับความเชี่ยวชาญ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประยุกต์ใช้การประเมินผลที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ตามระดับความเชี่ยวชาญ |
Creator | ชนาธิป ทุ้ยแป |
Contributor | ศิริเดช สุชีวะ, สุวิมล ว่องวาณิช |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2551 |
Keyword | ครู -- การประเมินศักยภาพ, การศึกษา -- การประเมิน, Teachers -- Rating of, Education -- Evaluation, ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน 2) วิเคราะห์คุณภาพในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในแต่ละระดับความเชี่ยวชาญหรือวิทยฐานะ 3) ศึกษาองค์ประกอบและกระบวนการดำเนินงานของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอนตามระดับความเชี่ยวชาญหรือวิทยฐานะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) ศึกษาประสิทธิผลของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ตามระดับความเชี่ยวชาญของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัย สามารถสรุปได้ดังนี้ คือ 1. สมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สามารถแบ่งออกเป็น 2 สมรรถนะหลัก ได้แก่ สมรรถนะหลัก ซึ่งประกอบไปด้วย 5 สมรรถนะย่อย ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ จิตบริการ การพัฒนาตนเอง การใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน และประสานความร่วมมือในการทำงาน และสมรรถนะตามสายงาน ประกอบไปด้วย 6 สมรรถนะย่อย ได้แก่ การออกแบบการเรียนรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การบริหารจัดการชั้นเรียน การพัฒนาผู้เรียนความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และความสามารถในการทำวิจัย 2. คุณภาพในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับเชี่ยวชาญพิเศษ คือ มีงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการศึกษา มีแผนการสอนที่คุณภาพและมีการบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระ มีนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาจากทฤษฎีใหม่ มีคลังเครื่องมือในการวัดผล และเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการในระดับชาติ รวมทั้งนักเรียนที่สอนมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 คุณภาพในการปฏิบัติงานของครูระดับเชี่ยวชาญ คือ มีงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ มีแผนการสอนที่มีคุณภาพและมีการบูรณาการภายในกลุ่ม มีนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและแปลกใหม่ มีเครื่องมือวัดผลที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ และเป็นสมาชิกเครือข่ายทางวิชาการระดับจังหวัด รวมทั้งนักเรียนที่สอนมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 คุณภาพในการปฏิบัติงานของครูระดับชำนาญการพิเศษ คือ มีงานวิจัยในชั้นเรียนที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ มีแผนการสอนที่มีคุณภาพ มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ มีเครื่องมือวัดผลที่มีคุณภาพ และเป็นสมาชิกเครือข่ายทางวิชาการระดับเขตพื้นที่ รวมทั้งมีนักเรียนที่สอนมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 คุณภาพในการปฎิบัติงานของครูระดับชำนาญการ คือ มีงานวิจัยในชั้นเรียนที่เป็นระบบ มีแผนการสอนที่สอดคล้องหลักสูตร มีนวัตกรรมที่เหมาะสมกับเนื้อหามาใช้ในห้องเรียน มีเครื่องมือวัดผลที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการวัด และเป็นสมาชิกเครือข่ายทางวิชาการในระดับกลุ่มโรงเรียน รวมทั้งมีนักเรียนที่สอนมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และคุณภาพในการปฏิบัติงานของครูระดับปฏิบัติการ คือ มีงานวิจัยในชั้นเรียนง่ายๆ ที่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน มีการจัดทำแผนการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ มีนวัตกรรมและเครื่องมือวัดผลที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน และเป็นสมาชิกเครือข่ายทางวิชาการในระดับสถานศึกษา รวมทั้งมีนักเรียนที่สอนมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 3. ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอน มีองค์ประกอบดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของการประเมินผลตัวชี้วัดในการประเมินผล เครื่องมือในการประเมินผล ผู้ประเมิน ผู้รับการประเมิน และระยะเวลาในการประเมิน ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อม การศึกษาถึงตัวชี้วัดที่จะทำการประเมินผลร่วมกัน การพิจารณาเกณฑ์คุณภาพของผลลัพธ์ การติดตามการปฏิบัติงาน และการประเมินผลลัพธ์ ด้านผลผลิต ประกอบด้วย ผลการประเมินผลเป็นรายบุคคล และผลการประเมินผลในภาพรวมสถานศึกษา ด้านการให้ข้อมูลป้อนกลับ ประกอบด้วย การรายงานผลการประเมิน การนำผลการประเมินไปใช้ และการผดุงระบบการประเมินผลในองค์กร 4. ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมและรายองค์ประกอบของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและผลการประเมินคุณภาพของการประเมินตามมาตรฐาน พบว่า ในทุกมาตรฐานมีคุณภาพอยู่ในระดับดี |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |