ประวัติศาสตร์วาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงในสื่อ พ.ศ. 2449-2519
รหัสดีโอไอ
Title ประวัติศาสตร์วาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงในสื่อ พ.ศ. 2449-2519
Creator ชเนตตี ทินนาม
Contributor อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท, วิลาสินี อดุลยานนท์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2551
Keyword วจนะวิเคราะห์, สื่อมวลชนกับสตรี, ความรุนแรงในสตรี, ความรุนแรงในสื่อมวลชน -- ประวัติศาสตร์, สตรีในวรรณคดี, Discourse analysis, Mass media and women, Violence in women, Violence in mass media -- History, Women in literature, ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Abstract งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงในสื่อนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449-2519 ในประเด็นต่อไปนี้ 1. เพื่อแกะรอยวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงบนพื้นที่สื่อ 2. เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์ปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงบนพื้นที่สื่อ 3. เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์กลไกในการทำงานของวาทกรรมเพื่อสื่อความหมายความรุนแรงต่อผู้หญิงในมิติของความไม่ต่อเนื่อง ปฏิบัติการของอำนาจและการต่อสู้ต่อความรุนแรงต่อผู้หญิง การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative research) ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท (text) ที่ปรากฏบนพื้นที่การสื่อสารใน นิตยสารผู้หญิง หนังสือพิมพ์วรรณกรรม ภาพยนตร์ และโฆษณาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วาทกรรม (discourse analysis) ของ Michel Foucault ร่วมกับทฤษฎีสตรีนิยม และแนวคิดความรุนแรงต่อผู้หญิง ผลการศึกษาพบว่า วาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงที่ปรากฏบนพื้นที่สื่อระหว่างปี พ.ศ. 2449-2519 ได้แก่ วาทกรรมความรุนแรงทางเพศ วาทกรรมพรหมจารี วาทกรรมว่าด้วยการทำแท้ง วาทกรรมว่าด้วยการคุมกำเนิด วาทกรรมความงาม วาทกรรมโสเภณี วาทกรรมผู้หญิงเป็นสมบัติของผู้ชายและครอบครัว วาทกรรมความเป็นแม่และเมีย วาทกรรมความรุนแรง ในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว วาทกรรมว่าด้วยการศึกษา และวาทกรรมว่าด้วยอาชีพ การวิเคราะห์วาทกรรมแบบสตรีนิยมสายสื่อที่งานวิจัยเรื่องนี้ได้ต่อยอดขึ้นมา ต้องมองให้เห็นปัจจัยเบื้องหลังวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิง ได้แก่ อุดมการณ์ปิตาธิปไตย ชนชั้น เชื้อชาติ มิติเศรษฐกิจ/ทุนนิยม ความรู้ ประเพณี/วัฒนธรรม/ศีลธรรม การเมือง เพศวิถี อัตลักษณ์ และวาทกรรมชุดต่างๆ ที่มากำกับวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิง ขณะที่ปัจจัยเบื้องหลังที่มีอิทธิพลต่อวาทกรรมภาคต่อสู้ได้แก่ วาทกรรมสตรีนิยมเสรีนิยม วาทกรรมสตรีนิยมสายถอนรากถอนโคน วาทกรรมสตรีนิยมสายวัฒนธรรมวาทกรรมสตรีนิยมสายสังคมนิยม วาทกรรมสตรีนิยมสายหลังสมัยใหม่ แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม วาทกรรมความรัก ความดีชั่วของสตรี วาทกรรมความรู้ ชนชั้น การเมือง วาทกรรมความเสมอภาค วาทกรรมตะวันตก และอุดมการณ์ทุนนิยม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า กลไกการทำงานของวาทกรรมทั้งวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงและวาทกรรมภาคต่อสู้ที่ปรากฏบนพื้นที่สื่อสะท้อนความไม่ต่อเนื่องของวาทกรรมในลักษณะ การแตกร้าว การปริแตก การสวมรอย การแตกหัก การผันแปร และการกลายพันธุ์ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายต่างก็มีส่วนร่วมในการใช้พื้นที่สื่อเพื่อผลิตซ้ำวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงขณะเดียวกันก็มีส่วนร่วมในการต่อสู้ต่อความรุนแรงต่อผู้หญิงเช่นเดียวกัน ผู้วิจัยเสนอให้ใช้แนวคิดความไม่ต่อเนื่อง ได้แก่ การแตกร้าว การปริแตก การสวมรอย การแตกหัก การผันแปร และการกลายพันธุ์ของวาทกรรม ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับที่อุดมการณ์หลักในสังคมใช้กระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงมาเป็นยุทธวิธีในการสู้กลับและรื้อถอนวาทกรรมความรุนแรงต่อผู้หญิงในสังคมไทย
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
Digital File #2
Digital File #3
Digital File #4
Digital File #5
Digital File #6
Digital File #7
Digital File #8
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ