รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาขนาดเล็ก
รหัสดีโอไอ
Title รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาขนาดเล็ก
Creator วัชรยุทธ บุญมา
Contributor ชื่นชนก โควินท์, รังสรรค์ มณีเล็ก
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2551
Keyword การศึกษาขั้นพื้นฐาน, ชุมชนกับโรงเรียน, โรงเรียน -- การบริหาร, โรงเรียนขนาดเล็ก, Basic education, Community and school, School management and organization, Small schools -- Administration
Abstract การวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาขนาดเล็ก และเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาขนาดเล็ก กระบวนการวิจัยมี 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการถอดแบบจากกรณีศึกษา 1 แห่ง ที่ประสบความสำเร็จด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่สองนำรูปแบบที่ได้ไปทดลองใช้กับกรณีศึกษา 1 แห่ง ที่ประสบกับปัญหาด้านการจัดการศึกษา เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ นำเสนอข้อมูลในลักษณะการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรก คือ ระบบของรูปแบบ ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ และผลที่ได้รับ ส่วนที่สอง คือ แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ และส่วนที่สาม คือ เงื่อนไขและข้อจำกัดของรูปแบบ ส่วนที่ 1 ระบบ 1) ตัวป้อน ได้แก่ งบประมาณและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดภายใต้บริบทของสถานศึกษาขนาดเล็ก ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม ชุมชนรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่และพร้อมแสดงบทบาทการมีส่วนร่วม สถานศึกษาและชุมชนมีศักยภาพและความสามารถในการแสวงหานักวิชาการภายนอกที่มีความเต็มใจและพร้อมที่จะทำงานร่วมกัน 2) กระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การสร้างศรัทธาและการให้โอกาส ขั้นที่ 2 การระดมความคิด วิเคราะห์ปัญหา ขั้นที่ 3 การวางแผนร่วมกัน ขั้นที่ 4 การดำเนินการตามแผน ขั้นที่ 5 การประเมินผลและปรับปรุง ขั้นที่ 6 การแสดงความรับผิดชอบและร่วมรับผล 3) ผลที่ได้รับ ด้านผลการเรียนรู้ ได้แก่ สถานศึกษาและชุมชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านผลผลิต ได้แก่ สถานศึกษาได้รับผลงานตามโครงการ ส่วนที่ 2 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมการสำรวจสภาพปัญหาและสภาพการมีส่วนร่วม ศึกษารูปแบบ ขั้นที่ 2 การดำเนินการพัฒนาผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และขั้นที่ 3 การตรวจสอบและประเมินผลถึงความสำเร็จของแผนการดำเนินการ ส่วนที่ 3 เงื่อนไขข้อจำกัดของรูปแบบ คือขนาดของสถานศึกษา และการเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
Digital File #2
Digital File #3
Digital File #4
Digital File #5
Digital File #6
Digital File #7
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ