แนวทางการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะสำหรับเยาวชนไทย : กรณีศึกษากลุ่มและเครือข่ายเยาวชนที่ทำงานด้านจิตสำนึกสาธารณะ
รหัสดีโอไอ
Title แนวทางการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะสำหรับเยาวชนไทย : กรณีศึกษากลุ่มและเครือข่ายเยาวชนที่ทำงานด้านจิตสำนึกสาธารณะ
Creator เกียรติศักดิ์ แสงอรุณ
Contributor ชื่นชนก โควินท์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2551
Keyword การพัฒนาชุมชน -- ไทย, อำนาจชุมชน -- ไทย, ประชาสังคม -- ไทย, การศึกษา -- แง่สังคม, Community development -- Thailand, Community power -- Thailand, Civil society -- Thailand, Education -- Social aspects
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กระบวนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะสำหรับเยาวชนของกลุ่มและเครือข่ายเยาวชน 2) ศึกษาจิตสำนึกสาธารณะของเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มและเครือข่ายเยาวชน และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะสำหรับเยาวชนไทย โดยมีกลุ่มนวัตกรรมเยาวชนเพื่อสังคม (YIY) กลุ่มเยาวชนแบล็กบอกซ์ (Black Box) และเครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่มที่ดำเนินโครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่ากรณีศึกษามีกระบวนการจัดกิจกรรมที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ เป็นกิจกรรมเพื่อสังคม การอาสา การช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อการดำเนินงาน การให้คำปรึกษา และ การจัดการความรู้ ซึ่งในระบบกระบวนการในการจัดกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ต่างเป็นส่วนหนึ่งที่สอดคล้องและเป็นไปตามกระบวนการบริหารคุณภาพวงจรเดมิ่ง ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดผลตอบแทนที่มีคุณค่านั่นคือ การทำให้เยาวชนเกิดการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะอย่างยั่งยืน เยาวชนกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรมของกรณีศึกษา ทุกคนมีคุณลักษณะของการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมอันเนื่องมาจากการไม่เห็นแก่ตัว และการเสียสละเพื่อสังคม อันเป็นองค์ประกอบของการมีจิตสำนึกสาธารณะซึ่งมีอยู่ในตัวของทุกคน แต่อาจจะต้องหาโอกาสที่จะมีการแสดงออกมา และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะ ได้แก่ ครอบครัว ครู อาจาย์ เพื่อน สื่อสารมวลชน สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัว สภาพปัญหา ภาวะวิกฤติ และตนเอง ขณะที่บทบาทของสถาบันต่างๆ ทางสังคมก็สามารถทำให้เกิดการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะได้นอกจากนั้นยังสามารถพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะได้ด้วยแนวทางดังนี้ ปฏิรูประบบการศีกษา พัฒนาคุณภาพสื่อ ร่วมมือกันทำงาน และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะสามารถกระทำได้ทั้งการจัดกิจกรรมที่เยาวชนเป็นผู้นำกิจกรรม ได้แก่ การรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมเพื่อสังคม กิจกรรมที่เยาวชนเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่กิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ และกิจกรรมที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การดูหนัง การเก็บขยะในที่สาธารณะ การหยุดรถให้คนข้ามถนนตรงทางม้าลาย เป็นต้น
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ