![]() |
การพัฒนาสารเคลือบผิวฐานฟันเทียมที่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนาสารเคลือบผิวฐานฟันเทียมที่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ |
Creator | พนารัตน์ ขอดแก้ว |
Contributor | ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, นันทนา จิรธรรมนุกูล |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2551 |
Keyword | Denture Bases, Fluorides, Acrylic Resins, Cariostatic Agents -- Chemistry, Surface Properties |
Abstract | การเกิดฟันผุในผู้ใส่ฟันเทียมบางส่วนถอดได้ฐานพลาสติก ได้นำมาสู่การพัฒนาสาร เคลือบผิวฐานฟันเทียมที่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ เนื่องจากฟลูออไรด์เป็นสารที่มีศักยภาพสูงในการ ป้องกันฟันผุ สารเคลือบผิวฟันเทียมชนิดบ่มด้วยแสงถูกเตรียมขึ้นโดยการผสมมอนอเมอร์อะคริ เลต กับระบบสารริเริ่มปฏิกิริยาด้วยแสง แคมฟอร์ควิโนน และไดเมทิลอะมิโนเอทิลเมทาคริเลต ฟลูออไรด์ที่เลือกใช้เพื่อผสมกับสูตรเรซินสำหรับเป็นแหล่งฟลูออไรด์ คือ โซเดียมฟลูออไรด์ และ แคลเซียมฟลูออไรด์ ทดสอบสมบัติความแข็งผิว การดูดน้ำ การละลายน้ำ และการปลดปล่อย ฟลูออไรด์ ของสารเคลือบที่เตรียมขึ้น จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อช่วยในการคัดเลือก สูตรที่ดีที่สุด ทำการศึกษาสมบัติของสูตรที่เลือกเพิ่มเติม คือ การปลดปล่อยฟลูออไรด์ในแต่ละวัน และการยึดติดกับฐานฟันเทียมชนิดบ่มด้วยความร้อน จากการศึกษาพบว่า วัสดุที่เตรียมจาก ส่วนผสมของมอนอเมอร์อะคริเลต (DU-DMA/GDA/TEGDMA/DEGME-MA ด้วยสัดส่วน 1.0/0.1/0.25/0.75 โดยโมล) และแคลเซียมฟลูออไรด์ สามารถใช้เป็นสารเคลือบผิวฐานฟันเทียมที่ ปลดปล่อยฟลูออไรด์ได้ จากการศึกษาการปลดปล่อยฟลูออไรด์ พบว่า สูตรผสมแคลเซียม ฟลูออไรด์ในช่วงร้อยละ 10-30 โดยน้ำหนักเรซิน ให้ผลการปลดปล่อยฟลูออไรด์ที่สม่ำเสมอใน ปริมาณที่เพียงพอสำหรับการป้องกันฟันผุ อย่างไรก็ตามปัญหาการยึดติดของสารเคลือบกับฐานฟัน เทียมสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้โดยการใช้สารสนับสนุนการเสริมฐานทาที่ผิวก่อนการเคลือบ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |