![]() |
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางภายหลังการเปิดให้บริการ ของระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ : การศึกษาก่อนและหลังของระบบรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน ในกรุงเทพมหานคร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางภายหลังการเปิดให้บริการ ของระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ : การศึกษาก่อนและหลังของระบบรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน ในกรุงเทพมหานคร |
Creator | จรินทร์ กังใจ |
Contributor | ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2549 |
Keyword | รูปแบบการเดินทาง -- ไทย -- กรุงเทพฯ, การขนส่งมวลชน -- ไทย -- กรุงเทพฯ, รถไฟฟ้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
Abstract | ปัจจุบันมีการประยุกต์เทคนิคการสำรวจข้อมูลแบบ Stated preference (SP) เพื่อคาดการณ์การใช้ระบบขนส่งที่จะเกิดขึ้นใหม่อย่างแพร่หลาย แต่ผลการคาดการณ์ที่ได้อาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองจากข้อมูล SP และตรวจสอบผลการคาดการณ์โดยใช้แบบจำลองดังกล่าวกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง โดยการศึกษาก่อนและหลังการเปิดให้บริการของระบบรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน ในกรุงเทพมหานคร ในงานวิจัยนี้แบ่งกลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลอง SP เป็น 3 กลุ่มคือ 1. กลุ่มผู้เดินทางที่เลือกใช้รถยนต์ส่วนตัว 2. กลุ่มผู้เดินทางที่เลือกใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส และ 3. กลุ่มผู้เดินทางที่เลือกใช้รถโดยสารประจำทาง โดยจากผลการศึกษาก่อนรถไฟฟ้าเปิดให้บริการพบว่า มูลค่าของเวลาการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของแต่ละกลุ่ม มีค่าคิดเป็น 24.15% 24.14% และ 21.81% ของรายได้เฉลี่ยตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บริการก่อนและหลังเปิดให้บริการพบว่า กลุ่มผู้ที่เลือกใช้รถโดยสารประจำทางมีสัดส่วนของผู้ที่กล่าวว่าจะใช้บริการ แต่กลับไม่ใช้จริงภายหลังจากการเปิดให้บริการมากกว่ากลุ่มผู้ที่เลือกใช้ รถไฟฟ้าบีทีเอส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามสัดส่วนดังกล่าวสำหรับผู้ใช้รถโดยสารประจำทาง ไม่แตกต่างจากสัดส่วนของผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัว อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ สัดส่วนการกล่าวเกินจริงยังไม่ขึ้นกับเพศ อายุ และระดับรายได้ของผู้เดินทาง สำหรับผลการคาดการณ์ส่วนแบ่งตลาดของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนด้วยแบบจำลอง SPพบว่า ผลที่ได้มีค่ามากกว่าที่เกิดขึ้นจริงในทุกๆ กลุ่ม โดยมากที่สุดในกลุ่มผู้ที่เลือกใช้รถยนต์ส่วนตัว ซึ่งผลการคาดการณ์ส่วนแบ่งตลาดสูงกว่าความเป็นจริงถึง 4.99 เท่า และกลุ่มผู้ที่ใช้รถโดยสารประจำทางมีค่า 2.98 เท่า ส่วนกลุ่มผู้ใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสมีค่าต่ำสุดคือ 2.04 เท่า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การที่จะนำแบบจำลองที่ได้จากข้อมูล SP มาคาดการณ์พฤติกรรมการเปลี่ยนไปใช้ระบบขนส่งมวลชนรางที่จะเกิดขึ้นใหม่ ควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคาดการณ์พฤติกรรมของกลุ่มผู้ที่ในปัจจุบันใช้รถยนต์ ส่วนตัวและรถโดยสารประจำทาง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |