กรรมวิธีการสร้างฆ้องหล่อ : กรณีศึกษาช่างสำราญ นิลวิไลพันธ์
รหัสดีโอไอ
Title กรรมวิธีการสร้างฆ้องหล่อ : กรณีศึกษาช่างสำราญ นิลวิไลพันธ์
Creator ภัฐธีร์ตา วัฒนประดิษฐ์
Contributor ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2549
Keyword สำราญ นิลวิไลพันธ์, ฆ้องหล่อ, เครื่องดนตรีไทย
Abstract จากการศึกษาพบว่าฆ้องหล่อมีพัฒนาการการสร้างมาจากฆ้องตี แต่อาศัยวิธีการหล่อในวิชาช่างแทน เพื่อประหยัดเวลาในการผลิต และมีราคาถูกกว่าฆ้องตี จึงทำให้ฆ้องหล่อเป็นที่นิยมแพร่หลาย จากการศึกษากรรมวิธีการสร้างฆ้องหล่อของบ้านช่างสำราญ นิลวิไลพันธ์ พบว่าช่างสำราญ นิลวิไลพันธ์ ใช้วิธีการหล่อแบบหล่อดินในการสร้างฆ้องหล่อ โดยใช้ส่วนผสมที่สำคัญ 5 อย่าง ได้แก่ นิกเกิล สังกะสี ทองแดง อะลูมิเนียม ดีบุก มาหลอมรวมกันโดยใช้อัตราส่วนโลหะแต่ละส่วนในปริมาณที่เหมาะสม ทำให้ลูกฆ้องที่ได้จากการหล่อมีคุณภาพที่ทนทานต่อการใช้งานไม่แตกร้าวง่าย ส่วนด้านการเทียบเสียง ช่างสำราญอาศัยทักษะความชำนาญในการกลึงทำให้ฆ้องหล่อช่างสำราญ มีคุณภาพเสียงดีกว่าฆ้องหล่อโดยทั่วไป ซึ่งแตกต่างจากช่างทำฆ้องหล่อโดยทั่วไป จะใช้วิธีการขูดไปที่ลูกฆ้องแทนการกลึงเทียบเสียง ประกอบกับความพิถีพิถันในการกลึงรูปทรงภายนอก ทำให้ฆ้องหล่อของช่างสำราญมีความสวยงาม มีคุณภาพเสียงที่ดีกว่าฆ้องหล่อโดยทั่วไป กรรมวิธีการสร้างที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงของฆ้องหล่อคือ 1. ส่วนผสมที่ใช้ในการหล่อเป็นลูกฆ้อง 2. ขั้นตอนและวิธีการหล่อลูกฆ้อง 3. ความหนาบางของลูกฆ้องหล่อ 4. ขนาดสัดส่วนของลูกฆ้องหล่อ 5. วิธีการผูกลูกฆ้องโดยใช้หนังวัวหรือการใช้เชือก 6. ฉัตรฆ้องมีลักษณะยาว 7. ตะกั่วถ่วงเสียง 8. น้ำหนักของลูกฆ้องหล่อ 9. ร้านฆ้อง (ช่องว่างของร้านฆ้อง)
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ