การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้นาโนไททาเนียมไดออกไซด์
รหัสดีโอไอ
Title การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้นาโนไททาเนียมไดออกไซด์
Creator อภิชาติ ไชยชเนตรตี
Contributor ชัยฤทธิ์ สัตยาประเสริฐ, สุรเทพ เขียวหอม
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2549
Keyword ไทเทเนียมไดออกไซด์, วัสดุโครงสร้างนาโน, การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม, ต้นทุนวงจรชีวิต
Abstract Degussa P-25 เป็นไททาเนียมไดออกไซด์ขนาดนาโนเมตรที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การนำ Degussa P-25 มาใช้ในกระบวนการกำจัดของเสีย ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีผู้สนใจศึกษาค้นคว้าเป็นเวลามากกว่า 20 ปี แล้ว โดยประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียของ Degussa P-25 ได้รับการยอมรับในหลายงานวิจัยแล้วว่า มีประสิทธิภาพสูงเหมาะแก่การนำมาใช้ในการกำจัดของเสีย แต่ยังไม่มีงานวิจัยใดที่ทำการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการนำ Degussa P-25 มาใช้ในการกำจัด ดังนั้นในงานวิจัยนี้จะทำการพิจารณากระบวนการกำจัดของเสียทั้งหมด 5 ชนิด คือ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ฟีนอลิกเรซิน ไนโตรเบนซีน สีย้อมเมทิลลีนบลู และสีย้อมออเรนจ์ 4 ซึ่งถือว่าเป็นสารมลพิษที่มีความเป็นพิษสูง และกำจัดได้ยากด้วยวิธีทางชีวภาพ และนิยมจำกัดโดยใช้ Degussa P-25 มาประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เปรียบเทียบกับกระบวนการกำจัดของเสียวิธีอื่น ๆ เพื่อที่จะบ่งชี้ ถึงแนวทางในการนำ Degussa P-25 มาใช้ในการกำจัดของเสีย โดยพิจารณาถึงประสิทธิภาพการกำจัดของเสีย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SimaPro 6.0 ซึ่งพบว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการกำจัดของเสียจะขึ้นอยู่กับ ชนิดของเสีย ปริมาณของเสีย และวิธีการกำจัดของเสีย โดยที่กระบวนการกำจัดโดยใช้ Degussa P-25 เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในกระบวนการกำจัดฟีนอลิกเรซิน ไนโตรเบนซีน และกำจัดสีย้อมออเรนจ์ 4 ในน้ำ เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการกำจัดที่ดี และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย แต่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในกระบวนการกำจัดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ และสีย้อมเมทิลลีนบลู นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการกำจัดฟีโนลิกเรซินที่ปนเปื้อนในน้ำ จากโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย พบว่ากระบวนการกำจัดฟีโนลิกเรซิน โดยการส่งไปเผาในเตาเผาปูนซิเมนต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นวิธีที่จะใช้ในการกำจัดฟีโนลิกเรซินที่ปนเปื้อนในน้ำที่ดี เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการกำจัดสูง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และมีต้นทุนในการกำจัดและการขนส่งต่ำ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ