![]() |
การเก็บกลับคืนโลหะแพลทินัมจากเศษปูนหล่อเครื่องประดับ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การเก็บกลับคืนโลหะแพลทินัมจากเศษปูนหล่อเครื่องประดับ |
Creator | สิฬิฉัตฬ์ ปราสาททอง |
Contributor | ดาวัลย์ วิวรรธนะเดช, ขจีพร วงศ์ปรีดี |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2549 |
Keyword | ทองคำขาว, การแต่งแร่ |
Abstract | เศษปูนหล่อที่ได้จากการขึ้นรูปอัญมณีและเครื่องประดับ ย่อมมีโลหะมีค่า เช่น ทองคำ แพลทินัมและเงินหลงเหลืออยู่ หากเป็นชิ้นส่วนที่มีโลหะมีค่าหลงเหลืออยู่ปริมาณมากพอ ก็จะมีการส่งต่อไปยังอุตสาหกรรมรีไซเคิลเพื่อเก็บกลับคืนโลหะมีค่าต่างๆ ต่อไป สำหรับชิ้นส่วนที่มีโลหะมีค่าหลงเหลืออยู่ปริมาณน้อย ก็จะถูกเก็บกองไว้ เป็นภาระในการจัดการ หากสามารถนำเทคโนโลยีการแต่งแร่ทั้งทางกายภาพและทางเคมีมาประยุกต์ใช้ร่วม กันอย่างเหมาะสม จะสามารถเก็บกลับคืนโลหะมีค่าจากชิ้นส่วนเศษปูนหล่อที่มีปริมาณโลหะมีค่าหลง เหลืออยู่ปริมาณน้อยได้อย่างคุ้มค่า การศึกษาครั้งนี้ได้ทดลองนำเทคโนโลยีการแต่งแร่ทั้งทางกายภาพและทางเคมีมา ประยุกต์ใช้เชิงผสมผสานเพื่อนำกลับคืนโลหะแพลทินัมจากเศษปูนหล่อ โดยเริ่มต้นจากการนำเศษปูนหล่อไปอบแห้ง แล้วบดละเอียดจนวัสดุเกิดการแยกตัวกัน จากนั้นทำการคัดแยกด้วยมือ แล้วตามด้วยการคัดขนาดด้วยตะแกรงมาตรฐาน และการคัดแยกด้วยโต๊ะสั่น ตามลำดับ จากนั้นจึงเลือกใช้เฉพาะส่วนหนักและส่วนคละ โดยนำทั้งสองส่วนมารวมกัน แล้วนำไปกำจัดมลทินเหล็กด้วยเครื่องแยกแม่เหล็ก แล้วจึงนำส่วนที่ไม่ติดแม่เหล็กไปทำการละลายในสารละลายกรดกัดทองเพื่อแยก สกัดโลหะแพลทินัมออกจากเศษปูนหล่อ แล้วจึงเก็บกลับคืนโลหะแพลทินัมจากสารละลายด้วยเทคนิคการแทนที่ด้วยโลหะ สังกะสี เปรียบเทียบกับการตกตะกอนด้วยกรดฟอร์มิก ผลการศึกษาพบว่าสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการแยกสกัดโลหะแพลทินัมด้วยสารละลาย กรดกัดทอง คือ ใช้กรดกัดทองเข้มข้น 100% ที่อุณหภูมิ 60 [องศาเซลเซียส] เป็นเวลา 12 ชั่วโมง โดยมิได้ทำการกวน สามารถแยกสกัดโลหะแพลทินัมด้วยประสิทธิภาพ 94.32%, 97.71%, และ 99.25% โดยน้ำหนัก เมื่อใช้เศษปูนหล่อเข้มข้น 20%, 10% และ 5% Solid ตามลำดับ โดยพบว่าประสิทธิภาพการแยกสกัดลดลงเหลือเพียง 88.74% เมื่อเพิ่มความเข้มข้นเศษปูนหล่อเป็น 33.5% Solid ดังนั้นจึงควรทำการแยกสกัดโลหะแพลทินัมด้วยสารละลายกรดกัดทองที่ความเข้มข้น ไม่เกิน 20% Solid สำหรับการทดลองเก็บกลับคืนโลหะแพลทินัมจากสารละลายแพลทินัมในกรดกัดทอง ได้ทดลอง 2 เทคนิคเปรียบเทียบกัน ผลการทดลองพบว่าการเก็บกลับคืนด้วยเทคนิคการแทนที่ด้วยโลหะสังกะสี จะได้ผลิตภัณฑ์โลหะแพลทินัมที่มีความบริสุทธิ์สูงกว่า (95.03%Pt) ด้วยประสิทธิภาพการเก็บกลับคืนสูงถึง 93.6% จึงควรเลือกเทคนิคนี้สำหรับการเก็บกลับคืนโลหะแพลทินัมจากสารละลายแพลทินัม ในกรดกัดทอง กล่าวโดยสรุปคือ การนำเทคโนโลยีการแต่งแร่ทั้งทางกายภาพและทางเคมีประยุกต์ใช้ร่วมกันอย่าง เหมาะสม เป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการเก็บกลับคืนโลหะมีค่าจากวัสดุเหลือทิ้งที่มีองค์ประกอบโลหะมีค่าปริมาณค่อนข้างต่ำได้ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและลดปริมาณขยะในเวลาเดียวกัน |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |