![]() |
การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมที่เหมาะสมสำหรับการประเมินการทำงานกลุ่มของนักเรียน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมที่เหมาะสมสำหรับการประเมินการทำงานกลุ่มของนักเรียน |
Creator | นันทินี ภุมรินทร์, 2522- |
Contributor | พวงแก้ว ปุณยกนก |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2546 |
Keyword | ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา, การทำงานกลุ่มในการศึกษา, การประเมิน, นักเรียนมัธยมศึกษา, ลิสเรลโมเดล, การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมที่เหมาะสมสำหรับการประเมินการทำงานกลุ่มของนักเรียนตามกลุ่มกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 7 กลุ่ม คือ กลุ่มบูรณาการ กลุ่มกิจกรรมนอกสถานที่ กลุ่มกิจกรรมนันทนาการ กลุ่มกิจกรรมเทคโนโลยี กลุ่มกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาความรู้ กลุ่มกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม กลุ่มกิจกรรมจากหลักสูตรท้องถิ่น 10 ฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู และนักเรียนชั้น ม.1-ม.3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในปีการศึกษา 2546 กลุ่มตัวอย่างครูเท่ากับ 350 คน และกลุ่มตัวอย่างนักเรียนเท่ากับ 435 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อประเมินการทำงานกลุ่มของนักเรียน จำนวน 2 ชุด โดยแบ่งเป็นชุดสำหรับครู และชุดสำหรับนักเรียน ซึ่งมีเนื้อหาและจำนวนข้อคำถาม 51 ข้อ เหมือนกัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC[superscript +] และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรมลิสเรล 8.52 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่ามัชฌิมเลขคณิตของกลุ่มตัวอย่างครูและกลุ่มตัวอย่างนักเรียนไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้รวมที่เหมาะสมสำหรับการประเมินการทำงานกลุ่มของนักเรียน จากการรวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างครูและนักเรียน และจากการแยกกกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างครู และกลุ่มตัวอย่างนักเรียน ได้ตัวบ่งชี้ทั้งหมด 20 ตัวบ่งชี้ 3. โมเดลตัวบ่งชี้รวมที่เหมาะสมสำหรับการประเมินการทำงานกลุ่มของนักเรียน จากการรวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม คือกลุ่มตัวอย่างครูและนักเรียน และจากการแยกกลุ่มตัวอย่างออกเป็น สองกลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างครู และกลุ่มตัวอย่างนักเรียน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 105.12, 105.08 และ 125.51 ตามลำดับ ที่องศาอิสระเท่ากับ 110, 110 และ 131 ตามลำดับ ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ .61374, .61478 และ .61891 ตามลำดับ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนมีค่าเท่ากับ .99, .97 และ .97 ตามลำดับ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว มีค่าเท่ากับ .97, .94 และ .95 ตามลำดับ และดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษเท่ากับ .055, .088 และ .069 ตามลำดับ |
ISBN | 9741756607 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |