![]() |
การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และสมรรถภาพการวิจัยระหว่างครูนักวิจัย ที่มีตำแหน่งทางวิชาการและความต่อเนื่องทางการทำวิจัยแตกต่างกัน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และสมรรถภาพการวิจัยระหว่างครูนักวิจัย ที่มีตำแหน่งทางวิชาการและความต่อเนื่องทางการทำวิจัยแตกต่างกัน |
Creator | ธีรวัฒน์ ฆะราช, 2518- |
Contributor | เพียงใจ ศุขโรจน์, สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2546 |
Keyword | การศึกษา--วิจัย, การจัดการชั้นเรียน |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้ในการวัดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและสมรรถภาพการวิจัย 2) ศึกษาเปรียบประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนระหว่างครูนักวิจัยที่มีตำแหน่งทางวิชาการและความต่อเนื่องทางการทำวิจัยแตกต่างกัน และ 3) ศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพการวิจัยระหว่างครูนักวิจัยที่มีตำแหน่งทางวิชาการและความต่อเนื่องทางการทำวิจัยแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูนักวิจัยสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสระแก้วจำนวน 309 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนมี 11 ตัว คือ วิธีการสอน การวัดและประเมินผล การจัดบรรยากาศการเรียนการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน วิสัยทัศน์ในการจัดการเรียนการสอน ความสัมพันธ์กับนักเรียนผลที่คาดหวังในตัวผู้เรียน ความรู้ทางวิชาชีพ ความสามารถทางวิชาการ พฤติกรรมการแสดงออก และทัศนคติต่อนักเรียนและวิชาที่สอน 2. ตัวบ่งชี้สมรรถภาพการวิจัยมี 7 ตัว คือ วิธีการสอน ทักษะในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ การวัดและประเมินผล พฤติกรรมการแสดงออก ทักษะในการเก็บรวบรวมข้อมูล จรรยานักวิจัย และทัศนคติต่อการวิจัย 3. กลุ่มครูนักวิจัยที่ทำวิจัยปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนสูงกว่ากลุ่มครู นักวิจัยที่ทำวิจัยปฏิบัติการอย่างไม่ต่อเนื่องในด้านความสามารถทางวิชาการ ความสัมพันธ์กับนักเรียน วิธีการสอน การวัดและประเมินผล การใช้สื่อการเรียนการสอน การจัดบรรยากาศการเรียนการสอน วิสัยทัศน์ในการจัดการเรียนการสอน ความรู้ทางวิชาชีพ และผลที่คาดหวังในผู้เรียนและกลุ่มอาจารย์ 2 ขึ้นไปมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนสูงกว่ากลุ่มอาจารย์ 1 4. กลุ่มครูนักวิจัยที่ทำวิจัยปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องมีสมรรถภาพการวิจัยสูงกว่ากลุ่มครูนักวิจัยที่ทำวิจัยปฏิบัติการอย่างไม่ต่อเนื่องในด้านจรรยานักวิจัย ทักษะในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทักษะในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ ทัศนคติต่อการวิจัย วิธีการสอน และการวัดและประเมินผล และกลุ่มอาจารย์ 1 มีจรรยานักวิจัยและทัศนคติต่อการวิจัยสูงกว่ากลุ่มอาจารย์ 2 ขึ้นไป 5. ผลการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและสมรรถภาพการวิจัยพบว่า ความต่อเนื่องทางการทำวิจัยส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและสมรรถภาพการวิจัย |
ISBN | 9741757816 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |