![]() |
โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการวิเคราะห์รูปทรงอาคารวัสดุเปลือกอาคาร และการออกแบบแผงบังแดดเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการวิเคราะห์รูปทรงอาคารวัสดุเปลือกอาคาร และการออกแบบแผงบังแดดเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน |
Creator | วีรศักดิ์ เชี่ยงเชิงชล |
Contributor | กวีไกร ศรีหิรัญ, ธนิต จินดาวณิค |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2546 |
Keyword | ความร้อน--การถ่ายเท, แผงกันแดด--การออกแบบ--โปรแกรมคอมพิวเตอร์ |
Abstract | จากการตื่นตัวในด้านการอนุรักษ์พลังงาน นับเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน การเจาะช่องเปิดด้านข้างอาคารและการออกแบบแผงบังแดดนอกอาคารให้กับช่องเปิดของอาคารถือเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน แต่ในการออกแบบแผงบังแดดนั้น ผู้ออกแบบต้องจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในการอ่านค่าและการใช้สูตรในการคำนวณเป็นอย่างดี อีกทั้งต้องใช้ระยะเวลาในการคำนวณ ดังนั้นในปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการคำนวณค่าต่างๆเพื่อใช้ในการออกแบบแผงบังแดด อย่างไรก็ตามโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นการกรอกข้อมูลที่เป็นตัวเลขรวมถึงการแสดงผลของโปรแกรมที่มีการแสดงผลออกมาในรูปแบบของข้อมูลทางตัวเลขหรือแผนภูมิ จึงทำให้โปรแกรมเป็นเสมือนเครื่องมือในการคำนวณและการวิเคราะห์ค่าการป้องกันความร้อนที่รวดเร็วและแม่นยำเท่านั้น ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เพื่อการออกแบบอย่างแท้จริง เพราะในการออกแบบแผงบังแดดนั้นต้องคำนึงถึงรูปร่างหน้าตาของแผงบังแดดที่เกิดขึ้นด้วย ดังนั้นหากเรานำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบแผงบังแดด โดยมิได้มุ่งเน้นที่การวิเคราะห์และการคำนวนค่าของการป้องกันความร้อนที่รวดเร็วและแม่นยำเพียงอย่างเดียวแต่มีการมุ่งเน้นในส่วนของรูปร่างหน้าตาของอาคารประกอบกันจะทำให้เราได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบแผงบังแดดเพื่อการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างแท้จริง ผลของการวิจัยสามารถสรุปแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีความสอดคล้องกับกระบวนการทำงานสถาปัตยกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานได้ดังนี้คือ พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบอย่างแท้จริงมิใช่เครื่องมือเพื่อการคำนวณ การสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในขณะใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้วิธีการเลือกและปรับเปลี่ยนค่าแทนการป้อนข้อมูลตัวเลข การแสดงผลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแสดงผลในทันทีที่มีการปรับเปลี่ยนค่าของตัวแปร การแสดงผลในลักษณะของแนวทางในการออกแบบ นอกจากนี้แนวทางการพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมด้านอื่นๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานควบคู่ไปกับการออกแบบของสถาปนิก |
ISBN | 9741746997 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |