ขั้นตอนวิธีทางคอมพิวเตอร์เพื่อรับรู้วัตถุจากภาพร่างด้วยมือ : การสร้างรูปทรง 3 มิติเบื้องต้น
รหัสดีโอไอ
Title ขั้นตอนวิธีทางคอมพิวเตอร์เพื่อรับรู้วัตถุจากภาพร่างด้วยมือ : การสร้างรูปทรง 3 มิติเบื้องต้น
Creator พชระ จาฏุพจน์, 2519-
Contributor กวีไกร ศรีหิรัญ, ธิดาสิริ ภัทรากาญจน์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2546
Keyword ภาพสามมิติ--โปรแกรมคอมพิวเตอร์, การเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม
Abstract วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้คือ การศึกษาการร่างภาพทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบด้วยมือเพื่อพัฒนาเป็นขั้นตอนวิธีทางคอมพิวเตอร์ให้สามารถรับรู้ และสร้างภาพวัตถุขึ้นได้ โดยการประยุกต์ใช้กับการสร้างรูปทรง 3 มิติเบื้องต้น การวิจัยนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการร่างภาพด้วยมือและทฤษฎีทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบของสถาปนิก ให้สามารถใช้การร่างภาพด้วยมือบนคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงแนวความคิด และกระบวนการออกแบบของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาลักษณะของการร่างภาพด้วยมือทางสถาปัตยกรรมพบว่าพื้นฐานของการร่างภาพทางสถาปัตยกรรมแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่การร่างภาพด้วยการวาดเส้นแบบเรขาคณิต และการร่างภาพด้วยการวาดเส้นแบบอิสระซึ่งมีรูปแบบและลักษณะการร่างภาพที่แตกต่างกัน งานวิจัยชิ้นนี้ได้ศึกษาขั้นตอนและวิธีทางคอมพิวเตอร์และทฤษฎีการคำนวณทางคณิตศาสตร์หลายวิธี ได้แก่ วิธีรับรู้รูปแบบที่เหมือนกันของภาพวาดลายเส้น วิธีรับรู้จุดมุมของภาพด้วยการหาค่าเวลาจากการลากเส้น วิธีรับรู้การขนานกันและความยาวของเส้น มาพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับรู้วัตถุจากการร่างภาพด้วยมือที่ปรากฏบนจอภาพ และยังสามารถนำไปปรับปรุงให้เป็นรูปทรง 3 มิติเบื้องต้นในขั้นสุดท้ายได้ ผลจากการวิจัยพบว่าโปรแกรมช่วยให้สถาปนิกสามารถใช้การร่างภาพด้วยมือ เพื่อช่วยงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม เช่นการสร้างหุ่นจำลอง 3 มิติเบื้องต้นด้วยคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น และยังสามารถนำผลของการวิจัยไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาโปรแกรมสร้างรูปทรง 3 มิติจากการร่างภาพด้วยมือที่ซับซ้อนด้วยคอมพิวเตอร์ต่อไปได้
ISBN 9741744714
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ