![]() |
ประสิทธิผลของการออกแบบการระบายอากาศช่องใต้หลังคาเพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากหลังคา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ประสิทธิผลของการออกแบบการระบายอากาศช่องใต้หลังคาเพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากหลังคา |
Creator | วิกรม จำนงค์จิตต์ |
Contributor | ธนิต จินดาวณิค, พิรัส พัชรเศวต |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2545 |
Keyword | ช่องใต้หลังคา -- การระบายอากาศ, ความร้อน -- การถ่ายเท, สถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงาน |
Abstract | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองจากสถานที่จริง เพื่อศึกษาประสิทธิผลการลดการถ่ายเทความร้อนจากหลังคา ด้วยวิธีการระบายอากาศช่องใต้หลังคาของอาคารที่ตั้งอยู่ในสภาพภูมิอากาศแบบ ร้อนชื้น อาคารที่ใช้ทำการทดลองเป็นอาคารพักอาศัยชั้นเดียวขนาด กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2.40 เมตร หลังคาทรงจั่ว มุงหลังคาด้วยกระเบื้องคอนกรีต มุมของหลังคาประมาณ 40-45 องศา ในการทดลองเรื่องการระบายอากาศ จะใช้พัดลมระบายอากาศจำลองสภาพการระบายอากาศแทนการระบายอากาศโดยวิธี ธรรมชาติ การเก็บและบันทึกข้อมูลจากการทดลองใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์บันทึกและเก็บ ข้อมูลทุกๆ 1 ชั่วโมงเป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน หรือ 72 ชั่วโมง ต่อ 1 การทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้อุณหภูมิชั่วโมง (degree-hour) ฐานอุณหภูมิ 18 ํC สะสม เป็นตัวเทียบผลของการทดลอง การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาประสิทธิผลการลดการถ่ายเทความร้อนจากหลังคาด้วยวิธีการระบายอากาศช่อง ใต้หลังคา พบว่า การระบายอากาศช่องใต้หลังคามีประสิทธิผลในการลดการถ่ายเทความร้อนไม่มากนัก โดยสามารถลดอุณหภูมิอากาศภายในห้องเฉลี่ยได้ประมาณ 0.1-0.2 ํC ส่วนที่ 2 หาแนวทางในการออกแบบปรับปรุงเพื่อลดปริมาณความร้อนที่เกิดจากการถ่ายเทความ ร้อนจากหลังคา พบว่า การใช้ฉนวนใยแก้วหนา 2นิ้วปูบนผ้าเพดาน การใช้แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ชนิดด้านเดียวติดแปะใต้หลังคา และการใช้ทั้งฉนวนใยแก้วหนา 2 นิ้วปูบนฝ้าเพดานร่วมกับแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ชนิดด้านเดียวติดใต้แปหลังคา จะมีประสิทธิผลในหารป้องหันการถ่ายเทความร้อนลงมาในอาคาร ได้ดีกว่าการระบายอากาศในช่องใต้หลังคาส่วนที่ 3 ศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ในการออกแบบและการปรับปรุงเพื่อลดปริมาณความร้อน พบว่า เงินลงทุนในการป้องกันความร้อนโดยการระบายอากาศช่องใต้หลังคาต่อประสิทธิผล ในการป้องกันความร้อน ไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับ เงินลงทุนในการป้องกันการนำความร้อนโดยใช้ฉนวนใยแก้วหนา 2 นิ้ว หรือเงินลงทุนในการใช้ระบบป้องกันการแผ่รังสีโดยใช้แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ หลังคาที่ปรับปรุงโดยการระบายอากาศใช้เงินลงทุนเฉลี่ย 162.5 บาทต่อตารางเมตร โดยสามารถลดอุณหภูมิอากาศและอุณหภูมิที่ผิวฝ้าเพดานภายในห้องเฉลี่ยลดลง ประมาณ 0.1 ํC เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ฉนวนใยแก้วหนา 2 นิ้ว ใช้เงินลงทุนเฉลี่ย 81.5 บาทต่อตารางเมตรซึ่งสามารถลดอุณหภูมิเฉลี่ยภายในห้องประมาณ 0.4 ํC และอุณหภูมิเฉลี่ยผิวฝ้าเพดาานภายในห้องลดลงประมาณ 0.3 ํC และเมื่อเทียบกับการใช้แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ชนิดด้านเดียว ใช้เงินลงทุนเฉลี่ย 108.5 บาทต่อตารางเมตร โดยสามารถลดอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยภายในห้องลงประมาณ 0.3 ํC และอุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวฝ้าเพดานภายในห้องลดลงประมาณ 0.2 ํC ผลการวิจัยพบว่า เมื่อมีการเพิ่มการระบายอากาศช่องใต้หลังคา จะเพิ่มประสิทธิผลของการลดการถ่ายเทความร้อนจากหลังคาเพียงเล็กน้อย ดังนั้นในการออกแบบปรับปรุงหลังคาเพื่อลดการถ่ายเทความร้อนควรจะใช้วิธีการ อื่นๆ เช่น การใช้ฉนวนใยแก้วกันความร้อน ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิผลสูงกว่า และใช้เงินลงทุนไม่ต่างกันมาก แต่จากการวิจัยยังพบปรากฏการณ์ที่น่าสนใจคือ ในช่วงเวลากลางคืนการใช้ฉนวนใยแก้วกันความร้อนในหลังคา จะทำให้อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยในห้องสูงกว่าห้องที่มีและไม่มีการระบายอากาศใต้ หลังคา และสูงกว่าห้องที่ใช้ระบบป้องกันรังสีความร้อนในหลังคา |
ISBN | 9741729154 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |