![]() |
การอยู่อาศัยหลังจากการย้ายชุมชนผู้มีรายได้น้อย จากแนวราบสู่แนวสูง : กรณีศึกษา ชุมชนอาคารทรัพย์สิน 26-7 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การอยู่อาศัยหลังจากการย้ายชุมชนผู้มีรายได้น้อย จากแนวราบสู่แนวสูง : กรณีศึกษา ชุมชนอาคารทรัพย์สิน 26-7 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร |
Creator | จูลี่ โรจน์นครินทร์ |
Contributor | กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์, ชวลิต นิตยะ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2545 |
Keyword | การย้ายที่อยู่อาศัย, การใช้ที่ดิน, ชุมชนแออัด |
Abstract | การประสานประโยชน์ที่ดิน (Land Sharing) เป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนแออัดที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยมีหลายชุมชนได้ใช้วิธีการนี้ แต่ในปัจจุบัน ชุมชนแรกและชุมชนเดียวที่ใช้วิธีการนี้ในการรื้อย้ายชุมชนขึ้นอาคารสูง คือ ชุมชนอาคารทรัพย์สิน 26-7 และเป็นการท้าทายแนวความคิดที่ว่า ชาวชุมชนผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถอยู่อาศัยบนอาคารสูง ซึ่งชุมชนอาคารทรัพย์สิน 26-7 เป็นอาคารของสำนักงานทรัพย์สินฯ ประกอบด้วยอาคารพักอาศัยสูง 26 ชั้น 1 หลัง และอาคารพาณิชย์สูง 7 ชั้น 1 หลัง ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการรื้อย้ายจาก 2 ชุมชนคือ ชุมชนรัชดาภิเษกฝั่งตะวันตก (ตรอกปลาเค็ม) และชุมชนร่วมใจตรอกไผ่สิงโต (สามเหลี่ยม) ดังนั้น การอยู่อาศัยหลังจากการย้ายชุมชนผู้มีรายได้น้อย จากแนวราบสู่แนวสูง: กรณีศึกษาชุมชนอาคารทรัพย์สิน 26-7 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาการอยู่อาศัยของชาวชุมชน ที่ย้ายจากที่อยู่อาศัยตามแนวราบสู่แนวสูง 2.ศึกษาปัญหาการอยู่อาศัยที่เกิดขึ้น หลังจากการเปลี่ยนแปลงการอยู่อาศัยจากแนวราบสู่แนวสูง และ3.ศึกษากระบวนการออกแบบอาคาร สำหรับผู้มีรายได้น้อยที่รื้อย้ายจากแนวราบสู่แนวสูง เพื่อเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการออกแบบอาคารในลักษณะเดียวกันต่อไป โดยอาศัยข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจโดยการสังเกต ถ่ายภาพ สัมภาษณ์ชาวชุมชน พร้อมวาดภาพการใช้พื้นที่ของชาวชุมชนประกอบ และข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารข้อมูลและการสัมภาษณ์สำนักงานทรัพย์สินฯ สถาบันวิจัย สถาบันพัฒนา และผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน จากการศึกษาพบว่า ชุมชนอาคารทรัพย์สิน 26-7 มีจำนวน 380 ห้อง มีประชากรจำนวนกว่า 1,500 คน ชาวชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย และรับรับจ้างทั่วไป ลักษณะสังคมแบบเครือญาติ และพบปัญหาดังนี้ 1.ปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบอาคาร 1.1ชาวชุมชนขาดพื้นที่ค้าขาย พื้นที่เตรียมค้าขาย และพื้นที่เก็บอุปกรณ์ ทำให้มีการเพิ่มเติม ปรับปรุงอาคาร 1.2ชาวชุมชนขาดพื้นที่พักผ่อน พบปะพูดคุย พื้นที่สำหรับเด็กเล่น และพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมชุมชน ทำให้มีการใช้พื้นที่ชุมชน อย่างผิดประเภทของการใช้งานพื้นที่ 1.3มีขนาดห้องแตกต่างกันหลายขนาดในแต่ชั้น ทำให้ชาวชุมชนที่เคยรวมกลุ่มมีความสัมพันธ์กันมาก่อน ไม่สามารถอยู่รวมในชั้นเดียวกันได้ นำไปสู่ปัญหาการเลือกผู้นำที่เป็นตัวแทนชั้น 1.4การออกแบบให้มีจำนวนห้องมากกว่าจำนวนสิทธิ์ของผู้เช่า ทำให้ชาวชุมชนเดิมได้รับสิทธิ์มากกว่า 1 สิทธิ์ ซึ่งนำไปสู่การเช่าช่วง การขายสิทธิ์ เกิดคนภายนอกเข้ามาอยู่ในชุมชน 2.ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบ 2.1ชาวชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบ ทำให้ต้องมีการปรับปรุง เพิ่มเติมอาคารหลังจากก่อสร้างอาคารเสร็จ 3.ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการเตรียมความพร้อมในการย้ายขึ้นอาคารสูง 3.1ขาดการจัดการอาคาร ขาดกฎระเบียบ และมาตรการควบคุม ทำให้ส่วนกลางสกปรก มีการวางทรัพย์สินส่วนตัวที่ส่วนกลาง ใช้น้ำไฟส่วนกลางเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล 3.2ขาดการแนะนำการใช้อาคารและ มาตรการควบคุม ทำให้สภาพอาคารทรุดโทรมกว่าอายุการใช้งานจริง สรุปได้ว่า ควรมีการให้ชาวชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบ และกระบวนการเตรียมความพร้อมใรการรื้อย้ายขึ้นอาคารสูงตลอดกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มเรียนรู้ปัญหาร่วมกัน เรียนรู้การแก้ไขปัญหาด้วยการพึ่งพาตนเอง ร่วมกันคิดและวางแผน และที่สำคัญคือ การสร้างความสัมพันธ์ของชาวชุมชน ให้ชาวชุมชนเป็นหนึ่งเดียวกัน และรู้สึกว่าอาคารเหมือนเป็นบ้านของตนที่จะต้องดูแลรักษา และช่วยเหลือกันในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากชาวชุมชนเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด และต้องรับผิดชอบชุมชนร่วมกันตลอดไป |
ISBN | 9741720521 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |