![]() |
ทัศนคติและความพึงพอใจในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแล สาธารณูปโภคส่วนกลางโดยผู้ประกอบการ คณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีองค์การบริหารส่วนตำบลร่วม บริหาร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ทัศนคติและความพึงพอใจในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแล สาธารณูปโภคส่วนกลางโดยผู้ประกอบการ คณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีองค์การบริหารส่วนตำบลร่วม บริหาร |
Creator | สมพิศ ดวงคำ |
Contributor | สุปรีชา หิรัญโร, ยุวดี ศิริ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2545 |
Keyword | ค่าใช้จ่าย, สาธารณูปโภค, พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 |
Abstract | จากการวิจัยเรื่อง ทัศนคติและความพึงพอใจในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลสาธารณูปโภคส่วน กลาง โดยผู้ประกอบการ, คณะกรรมการหมู่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ร่วมบริหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการ ให้บริการดูแลสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ วิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ รวมทั้งการศึกษาทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรที่มีแนวทางการบริหารดูแล สาธารณูปโภคทั้ง 3 รูปแบบ จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อยู่อาศัยใน หมู่บ้านที่บริหารโดยผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3 คน มีสภาพในครัวเรือนเป็นหัวหน้าครอบครัวมีรายได้ของครอบครัวต่อเดือน 35,000-40,000 บาท ที่อยู่อาศัยเป็นทาวน์เฮ้าส์ขนาดเนื้อที่ 20 ตารางวา และมีสถานะเป็นเจ้าของบ้านเอง กลุ่มตัวอย่างที่อยู่อาศัยใน หมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 คน มีสถานภาพในครัวเรือนเป็นหัวหน้าครอบครัว มีรายได้ของครอบครัวต่อเดือน 5,000-10,000 บาท ที่อยู่อาศัยเป็นทาวน์เฮ้าส์ขนาดเนื้อที่ 19 ตารางวา และมีสถานะเป็นเจ้าของบ้านเอง และกลุ่มตัวอย่าง ที่อยู่อาศัยใน หมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรและองค์การบริหารส่วนตำบลร่วม บริหาร(อบต.) ส่วนใหญ่มีสมาชิกในครัวเรือน 3 คน มีสถานภาพในครัวเรือนเป็นผู้พักอาศัย ซึ่งเป็นญาติพี่น้องหรือเป็นผู้เช่าผู้อยู่อาศัยมีรายได้ของครอบครัวต่อ เดือน 5,000 - 10,000 บาท ที่พักอาศัยเป็นทาวน์เฮ้าส์ขนาดเนื้อที่ 16 ตารางวา และมีสถานะเป็นผู้เช่า ในส่วนของความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางพบว่า หมู่บ้านที่บริหารโดยผู้ประกอบการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนกลางในเกือบทุกรายการ ยกเว้นค่าใช้จ่ายส่วนกลางเกี่ยวกับค่าสายตรวจตำรวจ ค่าลอกท่อระบายน้ำ และถึงแม้ว่ากลุ่มตัวอย่างจะไม่รู้ถึงค่าใช้จ่ายส่วนกลางดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างก็ยังยินดีจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลางข้างต้น เนื่องจากมีความพึงพอใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนกลางในเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนกลางในทุกรายการ และมีความยินดีที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ทุกรายการ เนื่องจากเห็นว่าค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่จัดเก็บมีความเหมาะสมเพราะการจัดเก็บ คุ้มค่ากับการดูแล และการจัดเก็บไม่แพงมาก หมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรและองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมบริหาร (อบต.) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนกลางเพียง 2 รายการ คือ ค่าเก็บขยะ และ ค่ารักษาความปลอดภัย แต่มีความยินดีที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ทุกรายการ เนื่องจากเห็นว่าค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคที่จัดเก็บมีความเหมาะสมเพราะการจัดเก็บไม่แพงมาก สรุปได้ว่าแม้ผู้อยู่อาศัยจะไม่รับรู้บางรายการในเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนกลางแต่ยังยินดีที่จะจ่ายเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ถ้าเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิรของผู้อยู่อาศัย เช่น ค่าสายตรวจตำรวจ เป็นต้น ในส่วนของความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการสาธารณูปโภคและการให้บริการของกลุ่มตัวอย่างที่อยู่อาศัยพบว่าหมู่บ้านที่บริหารโดยผู้ประกอบการ ผู้อยู่อากศัยเห็นว่าผู้ประกอบการมีการดูแลเอาใจใส่ในระดับสม่ำเสมอ แต่มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ทั้งนี้ เนื่องจากผู้อยู่อาศัยเห็นว่าการบริหารจัดการยังไม่ดีพอ หมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรและหมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรและองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมบริหาร (อบต.) ผู้อยู่อาศัยเห็นว่ามีการดูแลเอาใขใส่ในระดับปานกลาง และมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง เพราะเห็นว่าการจัดเก็บไม่แพง ข้อค้นพบประเด็นที่น่าสนใจ 1) ในด้านการดำเนินการจัดเก็บค่าใช้จ่าย เพื่อการดูแลสาธารณูปโภคส่วนกลางที่จัดเก็บโดย คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรสามารถจัดเก็บได้ตามจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมบริหาร เพราะผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านทั้ง 2 แห่ง มีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทน เข้ามาบริหารจัดการ 2) ในด้านวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลสาธารณูปโภค พบว่า คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร จัดเก็บโดยใช้ยามรักษาความปลอดภยที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อยู่อาศัยเป็นผู้จัดเก็บ สำหรับหมู่บ้านที่มีการบริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรและองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมบริหาร (อบต.) เนื่องจากมีสภาพบังคับในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางรวมกับค่าน้ำ จึงทำให้สามารถเก็บได้ครบตามจำนวน ข้อเสนอแนะ ความพึงพอใจในการจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลางขึ้นกับการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัยทำให้เกิดการยอมรับในการที่จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงเกิดความพึงพอใจที่จะจ่ายในระดับที่สูง ดังนั้นแนวทางหนึ่งซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางและทำให้ผ๔อยู่อาศัยมีความพึงพอใจได้นั้น คือ การปรับรูปแบบการบริหารจัดการสาธารณูปโภคโดยการให้ผู้อยู่อาศัยมีส่วนร่วมและร่วมรับรู้ในการบริหารจัดการด้วย |
ISBN | 9741731914 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |