การประเมินการก่อสร้างที่อยู่อาศัยด้วยบล็อกดินซีเมนต์
รหัสดีโอไอ
Title การประเมินการก่อสร้างที่อยู่อาศัยด้วยบล็อกดินซีเมนต์
Creator สิงหราช มีทิพย์
Contributor ชวลิต นิตยะ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2542
Keyword การก่อสร้าง, บล็อกดินซีเมนต์แบบประสาน, วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง
Abstract บล็อกดินซีเมนต์แบบประสานคือ บล็อกที่ได้รับการออกแบบให้มีลักษณะพิเศษ ลักษณมีรูร่องเดือยบนตัวบล็อกที่สามารถนำไปประสานทั้งแนวตั้งและแนวนอน ไม่ต้องก่อทีละก้อนแบบดั้งเดิม สามารถจับซ้อนกันสูงครั้งละ 10 แถว ใช้ผนังบล็อกรับน้ำหนักแทนเสาคานแบบเดิม ปัจจุบันบ้านจัดสรรมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบการก่อสร้างสำเร็จรูป การก่อสร้างด้วยบล็อกชนิดนี้จัดว่าเป็นระบบก่อสร้างกึ่งสำเร็จรูป ที่ประหยัด สะดวก และรวดเร็ว เป็นอีกแนวทางเลือกหนึ่ง ที่จะนำไปใช้ในโครงการบ้านจัดสรร ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ระบบการก่อสร้างชนิดนี้เหมาะสมในการนำมาใช้ก่อสร้างบ้าน 1 ชั้น ในโครงการบ้านจัดสรรหรือไม่ โดยศึกษา ต้นทุนและระยะเวลาก่อสร้า งเปรียบเทียบกับระบบเดิม ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะก่อสร้าง และเทคโนโลยีการก่อสร้าง ตัวอย่างที่ใช้การวิจัยเป็นบ้านเดี่ยว 1 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 88 ตารางเมตร ในโครงการบ้านจัดสรรที่มีการก่อสร้างอาคารรูปแบบเดียวกันในระบบเดิมอยู่ ใช้การเฝ้าสังเกตการณ์จดบันทึกและถ่ายภาพขณะก่อสร้างทุกวัน ตั้งแต่เริ่มต้นก่อสร้างจนแล้วเสร็จเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนค่าก่อสร้างของบ้านบล็อกชนิดนี้เท่ากับ 663,064 บาท ในขณะที่บ้านระบบเดิมมีต้นทุนเท่ากับ 727,926 บาท ปัญหาที่พบในขณะการก่อสร้างได้แก่ การเตรียมโครงสร้างและประกอบอื่นๆ เช่น วงกบ เป็นต้น ไม่พอดีกับระยะการก่อบล็อก ไม่มีบล็อกรูปแบบที่ต้องการใช้สอย และผิวบล็อกสกปรกเนื่องจากน้ำปูนทรายที่ใช้หยอดตามรูไหลฃออกมา แก้ไขโดยวิธีการทาสีอาคาร การออกแบบเกี่ยวข้องกับระบบประสานทางพิกัด การจัดผังอาคารต้องมีความเหมาะสมกับระบบ สร้างสูงไม่เกิน 2 ชั้น ตามฃพระราชบัญญัติ การก่อสร้างมีขั้นตอนใกล้เคียงกับ ระบบเดิมแตกต่างกันที่อาคารระบบนี้ ใช้บล็อกดินซีเมนต์ก่อเป็นผนังอาคารและโครงสร้างพร้อมกัน โดยไม่ต้องใช้เสาชั้นที่ 1 คานหลังคา และสามารถใช้คนงานก่อสร้างที่เคยทำงานในระบบดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี คนงานรู้สึกว่าทำงานง่ายขึ้น จะเห็นได้ว่า ต้นทุนในการก่อสร้างถูกกว่าระบบเดิม 8.91% เป็นผลมาจากการลดเสาชั้นที่ 1 และคานอะเส ไม่ต้องฉาบปูนและทำเอ็นทับหลัง สัดส่วนค่าแรงงานต่อค่าวัสดุน้อยลง เป็นผลทำให้ระยะเวลาการก่อสร้างลดลง น้ำหนักผนังเพิ่มขึ้นแต่ไม่ทำให้น้ำหนักของอาคารโดยรวมเพิ่มขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะก่อสร้างแยกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาเนื่องจากความไม่เข้าใจในกรรมวิธีการก่อสร้าง เพราะเริ่มนำระบบนี้มาใช้ยังไม่มีผู้ใดมีความชำนาญ จะต้องมีการฝึกอบรมคนงานให้เกิดทักษะมากขึ้น และปัญหาเนื่องจากคุณสมบัติเฉพาะของก้อนบล็อก ควรจะมีการพัฒนารูปแบบของบล็อกให้สอดคล้องกับการใช้สอย การออกแบบจะต้องมีความสอดคล้องกับระบบและกรรมวิธีในการก่อสร้าง มีความเหมาะสมที่จะนำระบบการก่อสร้างนี้ มาสร้างบ้าน 1 ชั้น ในโครงการบ้านจัดสรรเพราะว่ามี ต้นทุนและระยะเวลาก่อสร้างน้อยกว่า ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการเลือกระบบการก่อสร้างของผู้ประกอบการ ถ้ามีการใช้บล็อกมากกว่า 64000 ก้อน ลงทุนผลิตได้ต้นทุนจะลดลงอีก กรรมวิธีในการก่อสร้างไม่ยุ่งยาก สร้างเพียง 1 หลัง โดยที่ต้นทุนค่าก่อสร้างไม่เพิ่มสูงขึ้น การก่อสร้างมีมาตรฐานและควบคุมคุณภาพได้ดี หาคนงานได้ง่ายเพราะการก่อสร้างระบบนี้สามารถที่จะใช้คนงานที่ทำงานอยู่ในระบบเดิมไม่ต้องมีฝีมือมากนักได้เป็นอย่างดี ประกอบกับปัญหาในการก่อสร้างมีไม่มากนัก ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้
ISBN 9743340165
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ