![]() |
ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับทฤษฎีการดูแลตัวเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อภิวัฒน์ กุมภิโร |
Title | ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับทฤษฎีการดูแลตัวเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Contributor | จินตนา สรายุทธพิทักษ์, สริญญา รอดพิพัฒน์, จินตนา บรรลือศักดิ์ |
Publisher | Thailand National Sports University |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Academic Journal of Thailand National Sports University |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 291-302 |
Keyword | โปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัย, การรับรู้ความสามารถตนเอง, การดูแลตัวเอง, ความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ |
URL Website | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/index |
Website title | เว็บไซต์วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ |
ISSN | Print 2673-0952 Online 2697-5793 |
Abstract | การวิจัยวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ความตระหนัก และการปฏิบัติในการขับขี่รถจักรยานยนต์ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ความตระหนัก และการปฏิบัติในการขับขี่รถจักรยานยนต์หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม วิธีการดำเนินการวิจัย ประชากรเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย เป็นอาสามสมัคร จำนวน 36 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 18 คน และกลุ่มควบคุม 18 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์โดยการนำทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและทฤษฎีการดูแลตนเอง ประกอบด้วย 5 กิจกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 แบบวัดความรู้ ความตระหนัก เป็นแบบข้อคำถามหลายตัวเลือกอย่างละ 30 ข้อ และการปฏิบัติ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 30 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ในช่วง 0.6 - 1.0, 0.8 - 1.0 และ 1.00 ค่าความเที่ยง (Reliability) 0.80, 0.82 และ 0.86 ตามลำดับ ระยะเวลาในการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยค่าทีภายในกลุ่ม (Dependent t - test) และระหว่างกลุ่ม (Independent t - test) ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ความตระหนัก หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ ความตระหนัก และการปฏิบัติในการขับขี่รถจักรยานยนต์หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |