![]() |
ศึกษากลยุทธ์การสอนว่ายน้ำในระดับอุดมศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วงศ์พัทธ์ ชูดำ |
Title | ศึกษากลยุทธ์การสอนว่ายน้ำในระดับอุดมศึกษา |
Publisher | Thailand National Sports University |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Academic Journal of Thailand National Sports University |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 249-264 |
Keyword | กลยุทธ์การสอนว่ายน้ำ, ระดับอุดมศึกษา |
URL Website | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/index |
Website title | เว็บไซต์วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ |
ISSN | Print 2673-0952 Online 2697-5793 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากลยุทธ์การเรียนการสอนว่ายน้ำที่มีต่อความสามารถในการว่ายน้ำในระดับอุดมศึกษา และเปรียบเทียบรูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการสอนว่ายน้ำที่มีต่อประสิทธิภาพของการสอน ว่ายน้ำ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญอาจารย์ผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนกีฬาว่ายน้ำ จำนวน 16 ท่าน คัดเลือกจากอาจารย์ที่มีประสบการณ์สอนว่ายน้ำในระดับอุดมศึกษา ไม่น้อยกว่า 3 ปี และนิสิต นักศึกษาที่มีประสบการณ์ในการเรียน วิชาว่ายน้ำในระดับอุดมศึกษา จำนวน200 คน คัดเลือกด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามเกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนว่ายน้ำในระดับอุดมศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบแบบ t - test การวิเคราะห์ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลวิจัยพบว่า 1) ทักษะการว่ายน้ำของผู้เรียนที่มีต่อกลยุทธ์ในการเรียนการสอนวิชาว่ายน้ำ ด้านภาวะผู้นำของผู้สอน โดยรวมอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 2) กลยุทธ์ในการเรียนการสอนวิชาว่ายน้ำ ด้านการจัดแผนการเรียนการสอน สื่อสารสนเทศและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนว่ายน้ำ โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 3) กลยุทธ์ในการเรียนการสอนวิชาว่ายน้ำ ด้านรูปแบบและวิธีการประเมินทักษะการว่ายน้ำของผู้สอน โดยรวมอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และ 4) การเปรียบเทียบรูปแบบการสร้างแรงจูงใจ ทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ แบบแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอก ที่ใช้ในการเรียนการสอนว่ายน้ำ ในระดับอุดมศึกษา ที่มีผลต่อระดับการได้มาซึ่งทักษะการว่ายน้ำ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยในครั้งนี้สรุปได้ว่า ผู้สอนรายวิชาว่ายน้ำในระดับอุดมศึกษา ควรใช้ทั้งแรงจูงใจภายในและภายนอกในการสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาที่ร่วมชั้นเรียน และด้านการจัดแผนการเรียนการสอน ควรมีการใช้สื่อสารสนเทศและอุปกรณ์ประกอบการจัดการเรียนการสอนวิชาว่ายน้ำ นอกจากนี้ ผลจาการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า การจัดกิจกรรมในรูปแบบของเกมส์ จัดในรูปแบบของการแข่งขันในเชิงปฏิบัติ ประกอบในการเรียนการสอนส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการได้มาซึ่งทักษะกีฬาว่ายน้ำของนิสิต นักศึกษา |