ผลของการเข้าร่วมโปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่างที่มีต่อการเป็นอาสาสมัครของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
รหัสดีโอไอ
Creator พลวริศปกรณ์ สุทธิคีรี
Title ผลของการเข้าร่วมโปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่างที่มีต่อการเป็นอาสาสมัครของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Contributor สุวิมล ตั้งสัจจพจน์, กัลพฤกษ์ พลศร
Publisher Thailand National Sports University
Publication Year 2565
Journal Title Academic Journal of Thailand National Sports University
Journal Vol. 14
Journal No. 1
Page no. 237-248
Keyword โปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่าง, การเป็นอาสาสมัคร, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
URL Website https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/index
Website title เว็บไซต์วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
ISSN Print 2673-0952 Online 2697-5793
Abstract วัตถุประสงค์ของงานวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่าง และศึกษา ผลของโปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่างที่มีต่อการเป็นอาสาสมัครของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา จำนวน 377 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตามตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie, & Morgan (1970, p. 670) จากประชากร 18,215 คน (22 โรงเรียน) ในจังหวัดปทุมธานี ใช้วิธีการสุ่มเจาะจง (purposive sampling) เฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่ (1,500 - 2,499 คน) ได้ 7 โรงเรียน และทำการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ด้วยวิธีการจับฉลากได้โรงเรียน วรราชาทินัดดามาตุวิทยา กำหนดให้นักเรียนทั้ง 377 คน ทดสอบด้วยแบบสอบถามประเมินการเป็นอาสาสมัคร นำคะแนนทั้งหมดมาเรียงจากคะแนนสูงสุดถึงคะแนนต่ำสุด เลือกนักเรียนที่มีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยจำนวน 30 คน และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอีก 30 คน มาสุ่มแบบจับคู่ (Match - paired sampling) ได้กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย: - 1) แบบสอบถามประเมินการเป็นอาสาสมัคร ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิทางนันทนาการ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC = 0.80 - 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความเชื่อมั่นของ Cronbach ได้ค่า = 0.95 และ 2) โปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่างจำนวน 8 สัปดาห์ ๆ ละ 1.30 ชั่วโมง ผ่านการตรวจความเที่ยงตรงเชิงประจักษ์ (Face validity) จากผู้เชี่ยวชาญทางนันทนาการ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าโปรแกรมอยู่ในระดับ “เหมาะสม” วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t - test)ผลการวิจัยพบว่า: - 1) โปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่างมีความเหมาะสมที่จะนำไปเสริมสร้างการเป็นอาสาสมัครของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีระดับการเป็นอาสาสมัครโดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 4 ด้านพบว่า ระดับการเป็นอาสาสมัครสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกด้าน สรุปได้ว่า โปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่างมีผลต่อการเป็นอาสาสมัครของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Thailand National Sports University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ