![]() |
การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเฉพาะทางของพนักงานสนามกอล์ฟ (แคดดี้) ในจังหวัดเชียงใหม่ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ปนัดดา จีนประชา |
Title | การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเฉพาะทางของพนักงานสนามกอล์ฟ (แคดดี้) ในจังหวัดเชียงใหม่ |
Publisher | Thailand National Sports University |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Academic Journal of Thailand National Sports University |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 175-186 |
Keyword | การพัฒนาทักษะ, ภาษาอังกฤษเฉพาะทาง, พนักงานสนามกอล์ฟ |
URL Website | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/index |
Website title | เว็บไซต์วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ |
ISSN | Print 2673-0952 Online 2697-5793 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานสนามกอล์ฟในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีต่อบทเรียนภาษาอังกฤษ 2) เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเฉพาะทางเพื่อพนักงานสนามกอล์ฟ และวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ 2 ครั้ง คือ ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One group pre – test - post – test) โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานสนามกอล์ฟในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ( Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1. บทเรียนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยเนื้อหา สำนวน และคำศัพท์เฉพาะทางที่ช่วยในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ 2. แบบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีการหา IOC (Index of Item - Objective Congruence) จาก ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษและกอล์ฟรวม 3 ท่าน มีค่า > 0.50 ถือว่าเป็นแบบวัดที่ยอมรับได้ และมีค่าความเที่ยง Cronbach’s Alpha 0.88 ผลการศึกษาพบว่า 1. ความคิดเห็นของพนักงานสนามกอล์ฟที่มีต่อบทเรียนภาษาอังกฤษเฉพาะทางส่วนใหญ่เห็นด้วยกับระยะเวลาและสถานที่ ที่ใช้ในการฝึกอบรม และความเหมาะสมของสื่อที่ใช้ในการอบรม ความรู้ที่ได้รับเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ การเรียงลำดับของเนื้อหาจากง่ายไปสู่ยาก ความเหมาะสม และง่ายต่อการเข้าใจของเนื้อหา ความเหมาะสมของกิจกรรมกับเนื้อหา การบรรยายของวิทยากร และเอกสารหลักสูตรที่ใช้ประกอบการอบรม 2. การเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับคะแนนก่อนเรียนภาษาอังกฤษเฉพาะทางในระยะเวลา 3 เดือน พบว่า ผู้เข้าอบรมมีคะแนนหลังเรียน มากกว่า คะแนนก่อนเรียน แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าในเนื้อหา สำนวน และคำศัพท์ ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้ |