![]() |
แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นพรัตน์ ทรงสายชลชัย |
Title | แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี |
Contributor | ผกามาศ ชัยรัตน์, ชมพูนุช จิตติถาวร |
Publisher | Thailand National Sports University |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Academic Journal of Thailand National Sports University |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 115-132 |
Keyword | แนวทาง, การพัฒนา, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, จังหวัดอุทัยธานี |
URL Website | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/index |
Website title | เว็บไซต์วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ |
ISSN | Print 2673-0952 Online 2697-5793 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี 2.เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี และ 3.เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะจงกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 17 คน ดังนี้ เจ้าหน้าที่หน่วยงานของภาครัฐ ที่มีบทบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดอุทัยธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานเทศบาลเมืองอุทัยธานี สภาวัฒนธรรมจังหวัดอุทัยธานี หน่วยงานภาคเอกชนที่มีบทบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่ หอการค้าจังหวัดอุทัยธานี สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดอุทัยธานี ผู้ประกอบการด้านที่พักแรม ผู้ประกอบการด้านร้านอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ประกอบด้านสินค้าของที่ระลึกผู้ประกอบการด้านเรือบริการนักท่องเที่ยว และภาคชุมชน ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนสำคัญในบทบาทการเป็นผู้นำชุมชนหรือเจ้าของพื้นที่ชุมชน อันเป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำคัญจังหวัดอุทัยธานี โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth interview) ประเด็นคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ได้มีการกำหนดโครงสร้างไว้ ขณะเดียวกันมีการปรับคำถามให้เปิดแนวทางที่ได้รับข้อมูลเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของการวิจัยด้วย วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยนำข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth interview) แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi - structure) ที่ได้จากผู้ให้ข้อมูล มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เชิงบรรยาย โดยการระบุคุณลักษณะเฉพาะของข้อความอย่างมีระบบผลการวิจัยพบว่า 1.แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ วัดสังกัสรัตนคีรี (วัดเขาสะแกกรัง) วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) วัดอุโปสถาราม (วัดโบสถ์) วิถีชีวิตชาวแพลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง แหล่งเที่ยวเกาะเทโพ ถนนคนเดินตรอกโรงยา วัดถ้ำเขาวง หมู่บ้านกระเหรี่ยงแก่นมะกรูด คงความเป็นเอกลักษณ์ สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น 2.ปัญหาและอุปสรรคของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี เกิดจากเศรษฐกิจเติบโตอย่างช้า ๆ เนื่องจากรายได้ในชุมชนน้อย เป็นแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง ไม่มีการประชาสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องและจริงจัง ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน ด้านการให้ความรู้ที่ถูกต้องในการใช้เทคโนโลยี มีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ คนรุ่นใหม่ไม่มาสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น และ 3.แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี พัฒนาให้เป็นเมืองที่รักษาความเป็นมรดกของท้องถิ่นไว้ ส่งเสริมงานประเพณีที่ขึ้นชื่อของแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพื่อสร้างจุดสนใจ ช่วยกันสร้างวัฒนธรรมที่มีอยู่แต่เดิมให้มีความโดดเด่นเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยว เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้แพร่หลายเข้าถึงง่ายโดยการร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและคนในท้องถิ่น ส่งเสริมสินค้า OTOP เพื่อเป็นสินค้าหลักทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สมบูรณ์และยั่งยืน |