![]() |
ศักยภาพการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ตนุยา เพชรสง |
Title | ศักยภาพการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง |
Contributor | ชมพูนุช จิตติถาวร, ผกามาศ ชัยรัตน์ |
Publisher | Thailand National Sports University |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Academic Journal of Thailand National Sports University |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 101-114 |
Keyword | ทรัพยากรการท่องเที่ยว, ศักยภาพการท่องเที่ยว, จังหวัดพัทลุง |
URL Website | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/index |
Website title | เว็บไซต์วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ |
ISSN | Print 2673-0952 Online 2697-5793 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยวภายในจังหวัดพัทลุง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และนักวิชาการ ในจังหวัดพัทลุง และ 2) ประเมินศักยภาพการท่องเที่ยว โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม SWOT ภายในจังหวัดพัทลุง และสร้าง TOWs Matrix ผลการวิเคราะห์ SWOT Analysis พบว่า จังหวัดพัทลุงมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่โดดเด่น เช่น ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น น้ำตก ทะเลสาบ และภูเขา ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น แหล่งกำเนิดมโนราห์ และการแสดงหนังตะลุง มีเทศกาลประเพณีประจำท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีชักพระ มีความหลากหลายด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และมีการบริการทางการท่องเที่ยว จุดอ่อนพบว่า พื้นที่ท่องเที่ยวบางส่วนทรุดโทรม ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะในการพัฒนาการท่องเที่ยวพบว่า นโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมให้จังหวัดพัทลุงเป็นเมืองรอง และยังพบว่ากระแสความนิยมด้านการท่องเที่ยวใหม่ ๆ เช่น การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าอุปสรรคทางการท่องเที่ยวปัจจุบัน คือ โรคระบาด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และพืชผลทางการเกษตรส่งผลต่อการท่องเที่ยวภายในจังหวัดพัทลุง ผลการวิเคราะห์ TOWs Matrix ของจังหวัดพัทลุงกลยุทธ์เชิงรุกพบว่า ควรมีการพัฒนาการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายเนื่องจากจังหวัดพัทลุงเป็นเมืองรองที่มีความหลากหลายของทรัพยากรการท่องเที่ยว กลยุทธ์เชิงแก้ไข ควรมีการวางแผนด้านการตลาดดิจิทัล และบุกตลาดนักท่องเที่ยวที่มีกำลังจ่ายสูง เช่น ตลาดจีน อินเดีย กลยุทธ์เชิงป้องกัน ควรให้ความรู้กับคนในท้องถิ่นในการป้องกันการติดต่อ เช่น โควิด-19 รวมทั้งสนับสนุนให้ภาครัฐทำงานร่วมกับประชาชนเพื่อเป็นหูเป็นตาในด้านป้องกันภัยก่อการร้าย กลยุทธ์เชิงรับ สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนในท้องถิ่น ในการรับมือกับโรคระบาด ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประจำท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว |