พฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคเหนือ
รหัสดีโอไอ
Creator สุวลักษณ์ โลหกุล
Title พฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคเหนือ
Publisher Thailand National Sports University
Publication Year 2565
Journal Title Academic Journal of Thailand National Sports University
Journal Vol. 14
Journal No. 1
Page no. 85-100
Keyword พฤติกรรม, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, นักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
URL Website https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/index
Website title เว็บไซต์วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
ISSN Print 2673-0952 Online 2697-5793
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาเขตลำปาง วิทยาเขตสุโขทัย และวิทยาเขตเพชรบูรณ์ รวมทั้งสิ้น 353 คน จากสูตรการคำนวณโดยใช้สูตรของยามาเน่ เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เพื่อป้องกันการคลาดเคลื่อนของการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยจึงดำเนินการเก็บทั้งสิ้น 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบทดสอบหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.6 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย จำนวน ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างของนักศึกษา อยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง ด้านความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักศึกษา ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ส่งผลต่อโรคอ้วนอยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างของนักศึกษาพบว่า เพศ คณะที่กำลังศึกษา ดัชนีมวลกาย มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนรายได้ที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ อาจสรุปได้ว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างของนักศึกษาที่มีการปฏิบัติบ่อยครั้ง อาจเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารในปัจจุบันเปลี่ยนไปที่เน้นความรวดเร็ว เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพทางโภชนาการ ตลอดจนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มักได้รับข้อมูลข่าวสารด้านอาหารและโภชนาการจากโฆษณาในรายการโทรทัศน์ ซึ่งไม่มีการควบคุมโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม และอาหารฟาสต์ฟู้ด
Thailand National Sports University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ