![]() |
ผลของการใช้โปรแกรม AUTISSWIM ที่มีต่อทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและสมรรถภาพ ทางกายของเด็กออทิสติก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ยศธร รัตนจัง |
Title | ผลของการใช้โปรแกรม AUTISSWIM ที่มีต่อทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและสมรรถภาพ ทางกายของเด็กออทิสติก |
Contributor | แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ, พัชรินทร์ เสรี |
Publisher | Thailand National Sports University |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Academic Journal of Thailand National Sports University |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 71-84 |
Keyword | เด็กออทิสติก, ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ, โปรแกรม Autisswim, สมรรถภาพทางกาย |
URL Website | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/index |
Website title | เว็บไซต์วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ |
ISSN | Print 2673-0952 Online 2697-5793 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม Autisswim ต่อทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และเปรียบเทียบผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของเด็กออทิสติกก่อนและหลังเข้ารับการฝึกโปรแกรม Autisswim กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กออทิสติก อายุตั้งแต่ 7 ถึง 12 ปี ที่เข้ามารับบริการที่คลินิก เด็กและวัยรุ่นของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่มกราคม 2559 ถึง ธันวาคม 2561 จำนวน 6 คน และผู้ปกครองของเด็กออทิสติกจำนวน 6 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือในการคัดกรองกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) แบบทดสอบพัฒนาการปฐมวัย (Denver II) 2) แบบประเมินผลการปรับพื้นฐานการว่ายน้ำ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) โปรแกรมการฝึกว่ายน้ำ Autisswim 2) แบบบันทึกข้อมูลการสอนโปรแกรม Autisswim 3) แบบประเมินทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ 4) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 5) แบบประเมินสมรรถภาพทางกาย และ 6) แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ The McNemar Test และ The Wilcoxon Matched Pair Signed - Ranks Test ในการทดสอบสมมติฐานด้านทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และสมรรถภาพทางกาย ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเข้ารับการฝึกโปรแกรม Autisswim กลุ่มตัวอย่างสามารถผ่านการประเมินทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ 4 คน และไม่ผ่านการประเมินทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ 2 คน และโปรแกรม Autisswim ช่วยให้กลุ่มตัวอย่างมีทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะด้านการควบคุมลมหายใจขณะว่ายน้ำ 2) ทักษะด้านการลอยตัว 3) ทักษะด้านการใส่เสื้อชูชีพ และสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว และการทรงตัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งยังทำให้กลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้น แต่ในส่วนของทักษะด้านการเคลื่อนไหวในน้ำ และทักษะด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ ก่อนและหลังการเข้ารับการฝึกโปรแกรม Autisswim ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ |