![]() |
การเปรียบเทียบกระบวนการนโยบายของการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นิตยา เรืองมาก |
Title | การเปรียบเทียบกระบวนการนโยบายของการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา |
Contributor | วิชากร เฮงษฎีกุล, สุพิตร สมาหิโต |
Publisher | Thailand National Sports University |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Academic Journal of Thailand National Sports University |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 43-54 |
Keyword | นโยบาย, การพัฒนา, กีฬาสู่ความเป็นเลิศ |
URL Website | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/index |
Website title | เว็บไซต์วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ |
ISSN | Print 2673-0952 Online 2697-5793 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกระบวนนโยบายการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และนําเสนอรูปแบบนโยบายการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารระดับรองอธิการบดี จํานวน 15 คน ผู้บริหารระดับกลาง จํานวน 15 คน และผู้ปฏิบัติการ จํานวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน โดยการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันด้านนโยบายของการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา ด้านคนที่มีบทบาทสําคัญในการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้ฝึกสอน และนักกีฬา ด้านการเงินและงบประมาณ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเป็นหลัก ด้านสถานที่ฝึกซ้อม อุปกรณ์ ฝึกซ้อม มีมาตรฐานและเพียงพอ ด้านการจัดการและกระบวนการจัดการมีวิธีการนําไปปฏิบัติที่แตกต่างกันตามบริบทการดําเนินงานของมหาวิทยาลัย 2. รูปแบบนโยบายการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา มีแนวนโยบาย ดังต่อไปนี้ 1) การวางระบบการบริหารจัดการและพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ 2) การจัดหน่วยงานสนับสนุนภายในมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ 3) การขับเคลื่อนการส่งเสริมและการพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศอย่างเป็นรูปธรรม และ4) การติดตามและประเมินผลการดําเนินงานด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศอย่างเป็นระบบ จากข้อค้นพบนี้ สถาบันอุดมศึกษาสามารถนําไปพิจารณาดําเนินการเพื่อให้เกิดการพัฒนากีฬา เพื่อความเป็นเลิศอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป |