รหัสดีโอไอ | 10.14456/sb-journal.2023.9 |
---|---|
Creator | จิดานันท์ สวนคล้าย |
Title | การบริหารงบประมาณของสถานศึกษา ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี |
Contributor | ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ |
Publisher | Southeast Bangkok University |
Publication Year | 2023 |
Journal Title | วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 122-139 |
Keyword | การบริหารงบประมาณ, องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี, ผู้บริหารสถานศึกษา |
URL Website | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/issue/view/17533 |
Website title | วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) |
ISSN | 26976595 |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และ3) เสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 121 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 27 คน และครู 94 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า โดยมีค่าความตรงตามเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ทางสถิติ t-test Independent การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (The Least Significant Difference Test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก และด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน คือ ด้านการบริหารบัญชี ด้านการจัดสรรงบประมาณและด้านการบริหารการเงิน ตามลำดับ นอกนั้นอยู่ในระดับมาก คือด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ด้านการตรวจสอบ ติดตามประเมินผล และรายงานผลการใช้จ่ายเงิน ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ และด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาพบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งภาพรวมและรายด้าน ส่วนสถานศึกษาขนาดใหญ่ต่างกับขนาดกลางและเล็กในด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ และเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางในการพัฒนาควรจัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการเงิน บัญชี พัสดุและงบประมาณ หรือสรรหาบุคลากรเฉพาะด้านการเงิน บัญชี พัสดุและงบประมาณเพื่อให้มีประสิทธิภาพ |
ดิจิตอลไฟล์ |
Digital File |