![]() |
การศึกษาเปรียบเทียบค่าความดันลูกตาระหว่างการวัดด้วย เครื่องวัดความดันตาชนิดไม่สัมผัสตา (Non-Contact Tonometry) และ เครื่องวัดความดันลูกตาชนิดโกลด์แมนน์ (Goldmann Applanation Tonometry) ในผู้ป่วยโรคต้อหินโรงพยาบาลอ่างทอง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กอบกาญจน์ ธงทอง |
Title | การศึกษาเปรียบเทียบค่าความดันลูกตาระหว่างการวัดด้วย เครื่องวัดความดันตาชนิดไม่สัมผัสตา (Non-Contact Tonometry) และ เครื่องวัดความดันลูกตาชนิดโกลด์แมนน์ (Goldmann Applanation Tonometry) ในผู้ป่วยโรคต้อหินโรงพยาบาลอ่างทอง |
Publisher | โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารวิชาการแพทย์เขต11 |
Journal Vol. | 36 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 1-12 |
Keyword | ความดันลูกตา, เครื่องวัดความดันตาชนิดไม่สัมผัสตา, เครื่องวัดความดันลูกตาชนิดโกลด์แมนน์, ต้อหิน |
URL Website | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/index |
Website title | ThaiJo |
ISSN | 2730-3365 (Online) |
Abstract | บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าความดันลูกตาในผู้ป่วยโรคต้อหินที่วัดได้จากการวัดความดันลูกตาชนิดไม่สัมผัสตา (non-contact tonometry: NCT) และเครื่องวัดความดันลูกตาชนิด Goldmann applanation tonometry (GAT) รูปแบบการวิจัย: การศึกษาชนิดไปข้างหน้าและภาคตัดขวาง วิธีการศึกษา: การศึกษาในผู้ป่วยโรคต้อหิน 200 ราย ที่ได้รับการบันทึกในฐานข้อมูล HOMC กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลอ่างทอง ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2564 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2564 วัดค่าความดันลูกตาและประเมินวิเคราะห์ค่าความแตกต่างของความดันลูกตา โดยวิธีการวัดความดันลูกตาชนิดไม่สัมผัสตา และเครื่องวัดความดันลูกตาชนิด Goldmann applanation tonometry ด้วย paired t-test และหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความดันลูกตาที่วัดโดยทั้งสองวิธี ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของความดันลูกตาจากการวัดความดันลูกตาชนิดไม่สัมผัสตา (non-contact tonometry: NCT) เท่ากับ 17.29 ± 4.21 มิลลิเมตรปรอท และจากการวัดความดันลูกตาชนิด Goldmann applanation tonometry (GAT) เท่ากับ 16.50 ± 3.74 มิลลิเมตรปรอท ความแตกต่างของค่าความดันลูกตาในผู้ป่วยโรคต้อหินจากการวัดทั้งสองวิธี เท่ากับ 0.79 ± 1.09 มิลลิเมตรปรอท วิเคราะห์ด้วย Pearson correlation coefficient พบว่าค่าความดันลูกตาที่วัดโดยทั้งสองวิธี มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งตาขวา (r = 0.807, n = 200, P < 0.001) และของตาซ้าย (r = 0.857, n = 200, P < 0.001) โดยความสัมพันธ์ของทั้งสองวิธีอยู่ในทิศทางบวก Bland-Altman plot พบว่า limit of agreement (LoA) ของตาขวาเท่ากับ -3.88 ถึง 5.81 มิลลิเมตรปรอท (ค่าเฉลี่ย = 0.95) และมี 95% limit of agreement (LoA) ของตาซ้ายเท่ากับ -3.67 ถึง 4.92 มิลลิเมตรปรอท (ค่าเฉลี่ย = 0.62)สรุป: จากการศึกษานี้ ค่าความดันลูกตาจากการวัดด้วย NCT มีค่าสูงกว่าวิธี GAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และค่าความแตกต่างของความดันลูกตาอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ทางคลินิก โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก ทั้งตาขวาและตาซ้าย NCTเหมาะสมในการคัดกรองผู้ป่วยโรคต้อหินและโรคตาทั่วไป ร่วมกับการวัดค่าความดันตาด้วยวิธีโกลด์แมนน์ ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นมาตรฐานสำคัญ |