การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการประเมินผลการดำเนินงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม ประจำปีการศึกษา 2564 | |
รหัสดีโอไอ | |
Creator | รัตนา สุวรรณทิพย์ |
Title | การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการประเมินผลการดำเนินงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม ประจำปีการศึกษา 2564 |
Contributor | จรัญ แสนราช, สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์ และ รสสุคนธ์ สุวรรณกูฏ |
Publisher | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2024 |
Journal Title | วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม |
Journal Vol. | 10 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 1 ถึง 13 |
Keyword | การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, พิธีพระราชทานปริญญาบัตร, การประเมินผล, ผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม |
URL Website | https://mitij.mju.ac.th/ |
Website title | วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม |
ISSN | ISSN 3027-7280 (Online) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการประเมินผลการดำเนินงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษา และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบของการประเมินผลการดำเนินงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม ประจำปีการศึกษา 2564 ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นบัณฑิตที่รับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยนครพนม กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 315 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ด้วย Google form และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรม AMOS ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.40 และเพศชาย ร้อยละ 48.60 ระดับที่สำเร็จการศึกษา พบว่า ระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 93.00 รองลงมาระดับปริญญาโท ร้อยละ 3.50 และระดับ ป.บัณฑิต ร้อยละ 3.50 ตามลำดับ คณะที่สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่ พบว่า คณะคณะครุศาสตร์มากที่สุด ร้อยละ 28.90 รองลงมาคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 12.70 และคณะวิทยาศาสตร์และวิทยาลัยการบินนานาชาติน้อยที่สุด ร้อยละ 1.90 ตามลำดับ 2. ผลการดำเนินงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษา 3 องค์ประกอบ พิจารณาจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด ได้แก่ ด้านการให้บริการ เท่ากับ 0.743 รองลงมาด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เท่ากับ 0.640 และด้านกระบวนการ/ขั้นตอน มีค่าน้อยที่สุด เท่ากับ 0.525 ส่วนดัชนีที่ใช้ในการเปรียบเทียบความกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (CMIN/df) = 1.509, ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) = .979, ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของการประมาณค่าความคลาดเคลื่อน (RMSEA) = .040 ถือได้ว่ามีความสมบูรณ์เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ |