รหัสดีโอไอ | 10.14456/ksti.2022.9 |
---|---|
Creator | วีรนุช วอนเก่าน้อย |
Title | ความหลากชนิดของแมลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน และคุณสมบัติทางเคมีของดินของแปลงเกษตรอินทรีย์บ้านหัวงัว ต.กุดใส้จ่อ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม |
Contributor | นวพรรษ ผลดี |
Publisher | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2022 |
Journal Title | วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 1 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 43-60 |
Keyword | ความถี่การปรากฏ, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน, แปลงเกษตรอินทรีย์, คุณสมบัติทางเคมีของดิน, ค่าดัชนีความหลากหลาย |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/ |
Website title | วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2821-9406 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความหลากชนิดของแมลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดินและศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของดินในแปลงเกษตรอินทรีย์ ดำเนินการวิจัยโดยเลือกสำรวจพื้นที่แปลงเกษตรอินทรีย์ของหมู่บ้านหัวงัว ตำบลกุดใส้จ่อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ทำการสำรวจความหลากชนิดของแมลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน และศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของดิน ศึกษาและสำรวจเป็นเวลา 9 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนธันวาคม 2557 วิเคราะห์ค่าความถี่การปรากฏ (frequency of occurrence)) ค่าความหลากชนิด (species diversity) และค่าดัชนีความสม่ำเสมอ (evenness index) ผลการวิจัยพบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 2 ไฟลัม คือ ไฟลัมหนอนตัวกลมมีปล้อง (phylum Annelida) พบ 1 ชั้น (class) 1 อันดับ (order) 1 ชนิด (species) ไฟลัมสัตว์ขาข้อ (phylum Arthropoda) พบ 4 ชั้น 13 อันดับ 43 ชนิด ค่าดัชนีความหลากหลาย และค่าดัชนีความสม่ำเสมอเท่ากับ 3.33 และ 0.88 ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของดินพบว่า ค่าพีเอชดิน ค่าอินทรียวัตถุในดิน ค่าปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (%) ค่าฟอสฟอรัสที่สกัดได้ และค่าโพแทสเซียมที่สกัดได้ เท่ากับ 6.2±0.4, 0.83±0.08, 0.04±0.01, 41.11±4.86 และ 64.67±7.45 ตามลำดับ จากการวิจัยในครั้งนี้พบว่า เดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่พบดัชนีความหลากหลายของกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมากที่สุดคือเท่ากับ 3.22 ซึ่งจะสำรวจพบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ไส้เดือนดิน (Amynthas sp.) แมงมุม (Tartarus sp.) ตะขาบ (Scolopendra sp.) และกิ้งกือ (Thyropygus sp.) และจากการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของดินในเดือนกรกฎาคมนี้พบว่า มีค่าอินทรียวัตถุในดิน เท่ากับร้อยละ 0.86 ค่าฟอสฟอรัสเท่ากับ 48 ppm และค่าโพแทสเซียมเท่ากับ 74 ppm ซึ่งพบว่ามีปริมาณสูงที่สุดในรอบเก้าเดือนที่ทำการศึกษา |
ดิจิตอลไฟล์ |
Digital File |