![]() |
การทดสอบผลผลิตเบื้องต้นเพื่อคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมปรับปรุงใหม่ในพื้นที่จังหวัดพะเยา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อุเทน ยมทุ่งก้อง |
Title | การทดสอบผลผลิตเบื้องต้นเพื่อคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมปรับปรุงใหม่ในพื้นที่จังหวัดพะเยา |
Contributor | อุเทน ยมทุ่งก้อง, สุริยศักดิ์ อุ่นตาล, บุญฤทธิ์ สินค้างาม |
Publisher | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 1 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 53-70 |
Keyword | ข้าวโพดข้าวเหนียว, พันธุ์ทดสอบ, ทดสอบผลผลิต |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/ |
Website title | วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2821-9406 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกผลผลิตข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมจำนวน 30 คู่ผสม โดยใช้เชื้อพันธุกรรมข้าวโพดข้าวเหนียวจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KKU) 2 สายพันธุ์ เป็นพันธุ์ทดสอบ (Tester Line) และใช้เชื้อพันธุกรรมจากโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดมหาวิทยาลัยพะเยา (UPMI) 15 สายพันธุ์ เป็นพันธุ์แม่ (Mother Line) ปลูกทดสอบระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม 2564 ปลูกทดสอบผลผลิตข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมในแปลงทดลองของมหาวิทยาลัยพะเยา หมู่บ้านบ้านโซ้ ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ปลูกทดสอบโดยใช้พันธุ์การค้า 4 สายพันธุ์ในการเปรียบเทียบ ได้แก่ สวีทไวโอเล็ท สวีทไวท์ 25 3 สี และสวีทเพิลเพิ้ล พบว่าพันธุ์ที่ให้ผลผลิตทั้งเปลือก และผลผลิตปอกเปลือกสูงสุด ได้แก่ T3xUPW57 และT4xUPW74 เท่ากับ 1685.50 และ 1243.00 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ทางการค้า พบว่ามากกว่าสายพันธุ์ Sweet white 25, Samsee และSweet purple คู่ผสมที่มีจำนวนวันในการสลัดละอองเกสร วันออกไหมและเก็บเกี่ยวผลผลิตเร็วที่สุด คือ T3xUPW4 เท่ากับ 46 วัน และ 66 วัน ตามลำดับ เร็วกว่าสายพันธุ์ทางการค้าทุกสายพันธุ์ คุณภาพ การรับประทานพบว่าความเหนียวและรสชาติทุกคู่ผสมอยู่ในเกณฑ์ชอบมากเทียบเท่ากับสายพันธุ์การค้าทุกสายพันธุ์ และคู่ผสมที่ได้คะแนนความนุ่มมากกว่าสายพันธุ์ทางการค้า Sweet white 25 ได้แก่ คู่ผสม T4xUPW79 ด้านการต้านทานโรคทุกคู่ผสมมีความสามารถในการต้านทานโรคไวรัสใบด่าง (SCMV) และโรคราสนิม (SR) เทียบเท่ากับสายพันธุ์ทางการค้า |