รหัสดีโอไอ 10.14456/jsmesr.2022.4
Creator กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร
Title การสร้างแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
Contributor ณัฐพร แจ่มจำรัส, ถวัลยรัตน์ อินทร์สุนทร, อภิญญา จิตราศรี, อดิศรา ชัยธวัชวิบูลย์, ปวีณา ศรีเมือง, ปริญญา แสนศักดิ์, จิราภร แสนทวีสุข, นิรันดร์ เงินแย้ม, สุรเดช ประยูรศักดิ์
Publisher มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Publication Year 2565
Journal Title วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์
Journal Vol. 3
Journal No. 1
Page no. 34-42
Keyword แบบประเมิน, ความวิตกกังวล, การพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่, การพัฒนาแบบประเมิน
ISSN 2730-2466
Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) สร้างแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่เป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยนเรศวร ในปีการศึกษา 2564 มีขั้นตอนในการวิจัยดังนี้ ขั้นที่ 1 สัมภาษณ์นิสิตเกี่ยวกับเรื่องของความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่จนได้ข้อมูลที่อิ่มตัวจำนวนข้อมูล 120 คน ขั้นที่ 2 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 480 คนโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เพื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจจากข้อคําถามที่สร้างขึ้น พบข้อคำถามที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากกว่า 0.05 จำนวน 32 ข้อ แบ่งออกเป็น 6 องค์ประกอบได้ตั้งชื่อองค์ประกอบดังนี้ 1) สถานการณ์ 2) การทำงาน 3) การปรับตัว 4) อาชีพ 5) ความรับผิดชอบ และ 6) ความสัมพันธ์ขั้นที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.66 – 1.00 โดยได้ข้อคำถามทั้งหมด 32 ข้อ ขั้นที่ 4 เก็บข้อมูลจากตัวอย่างวิจัยจำนวน 300 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลและทำการปรับโมเดลเพื่อให้เกิดความสอดคล้อง ผลการวิจัยพบว่า ข้อคําถามได้ปรับให้เหลือ 21 ข้อ และมี 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) สถานการณ์ 2) การทำงาน 3) การปรับตัว และ 4) อาชีพ ข้อมูลตามทฤษฎีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ Chi-square = 417.51, df = 185, CFI = 0.97, NFI = 0.94, RMSEA = 0.85 ซึ่งผ่านเกณฑ์ การพิจารณาทุกรายการ และเครื่องมือที่สร้างมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สรุปได้ว่า แบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ประเมินในบริบทของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
ดิจิตอลไฟล์ Digital File

บรรณานุกรม

กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร และ ณัฐพร แจ่มจำรัส; ถวัลยรัตน์ อินทร์สุนทร; อภิญญา จิตราศรี; อดิศรา ชัยธวัชวิบูลย์; ปวีณา ศรีเมือง; ปริญญา แสนศักดิ์; จิราภร แสนทวีสุข; นิรันดร์ เงินแย้ม; สุรเดช ประยูรศักดิ์. (2565) การสร้างแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 3(1), 34-42.
กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร และ ณัฐพร แจ่มจำรัส; ถวัลยรัตน์ อินทร์สุนทร; อภิญญา จิตราศรี; อดิศรา ชัยธวัชวิบูลย์; ปวีณา ศรีเมือง; ปริญญา แสนศักดิ์; จิราภร แสนทวีสุข; นิรันดร์ เงินแย้ม; สุรเดช ประยูรศักดิ์. "การสร้างแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร". วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 3 (2565):34-42.
กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร และ ณัฐพร แจ่มจำรัส; ถวัลยรัตน์ อินทร์สุนทร; อภิญญา จิตราศรี; อดิศรา ชัยธวัชวิบูลย์; ปวีณา ศรีเมือง; ปริญญา แสนศักดิ์; จิราภร แสนทวีสุข; นิรันดร์ เงินแย้ม; สุรเดช ประยูรศักดิ์. การสร้างแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช:ม.ป.ท. 2565.