วิเคราะห์รูปแบบคำย่อจาก 4 พยางค์เป็น 2 พยางค์ ในภาษาจีนปัจจุบัน
รหัสดีโอไอ
Creator นริศ วศินานนท์, สุกัญญา วศินานนนท์
Title วิเคราะห์รูปแบบคำย่อจาก 4 พยางค์เป็น 2 พยางค์ ในภาษาจีนปัจจุบัน
Publisher คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Publication Year 2560
Journal Title วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Journal Vol. 7
Journal No. 1
Page no. 94-104
Keyword คำย่อภาษาจีนสองพยางค์, ภาษาจีนปัจจุบัน, รูปแบบการย่อคำจาก, 4 พยางค์เป็น 2 พยางค์
ISSN 2228-8864
Abstract บทความนี้เป็นการวิเคราะห์รูปแบบคำย่อสองพยางค์ในภาษาจีนปัจจุบัน ซึ่งย่อมาจากคำเดิม 4 พยางค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของคำศัพท์ (วลี) เดิมและโครงสร้างของคำย่อสองพยางค์ การเรียงลำดับของคำในคำศัพท์ (วลี) เดิมและคำย่อสองพยางค์ ลักษณะเด่นของคำศัพท์ที่ย่อเป็นคำย่อสองพยางค์ ทำให้เข้าใจที่มาของคำย่อสองพยางค์และสามารถใช้ได้ดียิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภาษาจีนผลการวิเคราะห์พบว่าคำย่อสองพยางค์ซึ่งมีที่มาจากคำศัพท์ (วลี) เดิม 4 พยางค์ส่วนใหญ่เป็นการนำพยางค์ใดพยางค์หนึ่งของคำมูล 2 คำ มาสมาสรวมกันเป็นคำ 2 พยางค์ ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของคำศัพท์ (วลี) เดิม 4 พยางค์นั้นมีโครงสร้าง 3 ลักษณะ คือโครงสร้างวลีที่มีความสัมพันธ์แบบคู่ขนาน โครงสร้างวลีแบบส่วนหลักและส่วนขยาย และโครงสร้างวลีแบบกริยาและกรรม ซึ่งในการสมาสรวมเป็นคำย่อสองพยางค์จะเลือกพยางค์ใดพยางค์หนึ่งของคำมูลมาสมาสกับอีกพยางค์หนึ่งของคำมูลคำหลังกลายเป็นคำย่อสองพยางค์ ลำดับการเรียงคำของคำย่อสองพยางค์ซึ่งมาจากคำศัพท์ (วลี) เดิม 4 พยางค์นั้น ส่วนใหญ่เรียงเหมือนเดิม โดยมีทั้งหมด 8 แบบ คือ 1. แบบ AC 2. แบบ AD 3. แบบ BD 4. แบบ BC 5. แบบ AB/CD 6. แบบ CA 7. แบบ CB และ 8. แบบ DA แต่มี 3 แบบคือ แบบ CA CB และDA เท่านั้นที่เรียงย้อนลำดับกัน ซึ่งลักษณะการเรียงลำดับของคำย่อแบบนี้มีจำนวนน้อยมาก คำย่อสองพยางค์ที่ประกอบจากคำศัพท์เดิม 4 พยางค์นั้นมาจากการเลือกพยางค์พยางค์หนึ่งของคำมูล 2 คำโดยคำนึงถึงพยางค์หรือหน่วยคำที่สามารถสื่อนัยสำคัญของคำมูลนั้นๆ และเมื่อสมาสรวมกันเป็นคำย่อสองพยางค์แล้วสามารถแทนนัยของคำศัพท์ (วลี) เดิมได้
วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ