ผลของการใช้วิดีโอที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษใต้ภาพและวิดีโอที่ไม่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษใต้ภาพต่อความสามารถทางการฟังของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
รหัสดีโอไอ
Creator ฐิตินันท์ อาจหาญ, ชลลดา เลาหวิริยานนท์
Title ผลของการใช้วิดีโอที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษใต้ภาพและวิดีโอที่ไม่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษใต้ภาพต่อความสามารถทางการฟังของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Publisher คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Publication Year 2560
Journal Title วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Journal Vol. 7
Journal No. 1
Page no. 19-49
Keyword ความสามารถทางการฟัง, วิดีโอที่มีและไม่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษใต้ภาพ, ทฤษฎีรหัสคู่และทฤษฎีภาระการทำงานของสมอง, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ISSN 2228-8864
Abstract วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้มี 2 ประเภทคือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้วิดีโอที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษใต้ภาพและวิดีโอที่ไม่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษใต้ภาพต่อความสามารถทางการฟังของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถทางการฟังของผู้เรียนที่ดูวิดีโอทั้ง 2 ประเภท ซึ่งกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงคือ กลุ่มทดลองที่ดูวิดีโอที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษใต้ภาพ (n = 25) และกลุ่มทดลองที่ดูวิดีโอที่ไม่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษใต้ภาพ (n = 21) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองทั้งหมด คือ 30 ชั่วโมงหรือภายใน 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลมี 2 ประเภท คือ 1) แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน และแบบทดสอบความคงทน (? = .53) และ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างผลการศึกษามี 3 ประการดังนี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการฟังของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยรวมหลังเรียนและความคงทนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (F = 12.816**, P < 0.01, ?2 = 0.226) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เป็นอิทธิพลของการทดสอบ 3 ครั้ง 2) ปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อความสามารถด้านการฟังของผู้เรียนวัยนี้ คือ ตัวการ์ตูน เสียง เนื้อหา และความยาวของวิดีโอ และ 3) อุปสรรค คือ ความเร็วของบทสนทนาบางตอนและสำเนียงภาษาที่ผู้เรียนวัยเยาว์ไม่คุ้นเคย
วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ