การจัดทำรูปแบบถนนคนเดิน (Model) ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต
รหัสดีโอไอ
Creator ธีราธร ลำเนาครุฑ
Title การจัดทำรูปแบบถนนคนเดิน (Model) ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต
Publisher คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Publication Year 2559
Journal Title วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Journal Vol. 6
Journal No. 2
Page no. 110-135
Keyword อาหารนานาชาติ, พหุวัฒนธรรม, รูปแบบถนนคนเดิน, ตำบลราไวย์, จังหวัดภูเก็ต
ISSN 2228-8864
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจพื้นที่และความต้องการของคนในชุมชน ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยวบริเวณตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ในการจัดทำรูปแบบถนนคนเดิน 2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อนำมาใช้ในการจัดทำรูปแบบถนนคนเดิน ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต 3) เพื่อจัดทำรูปแบบโมเดล (Model) และองค์ประกอบในการจัดทำถนนคนเดิน ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ตการวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยกลุ่มผู้ที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมรวมถึงผู้นำชุมชนและครูภูมิปัญญา จำนวน 25 คน กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลราไวย์ ประชาชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่นและผู้ปฏิบัติงานทางด้านวัฒนธรรม จำนวน 205 คน และกลุ่มผู้ใช้บริการด้านการท่องเที่ยวในตำบลราไวย์ จำนวน 70 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มมีความต้องการให้จัดถนนคนเดินขึ้นที่ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต เพื่อเพิ่มทางเลือกด้านการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ และสร้างแรงจูงใจแก่นักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวตำบลราไวย์เพิ่มมากขึ้น อันเป็นการสร้างรายได้และอาชีพ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนตำบลราไวย์ รวมถึงการส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจในชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว การจัดถนนคนเดินนับได้ว่าเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่ชุมชนมีความต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อเพิ่มสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งใหม่ที่มีการจำลองวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมของคนในชุมชนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงาน ได้แก่ การตั้งบูธจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง การจำหน่ายอาหารและขนมประเภทต่าง ๆ การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และการสาธิตผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น ปัญหาของการจัดทำรูปแบบถนนคนเดินพบประเด็นปัญหานี้ คือ สถานที่จัดงาน การบริหารจัดการ การจราจร สถานที่จอดรถ การรักษาความปลอดภัย การประชาสัมพันธ์ และการรักษาความสะอาด ปัญหาที่กล่าวมาได้ข้อสรุปหลังจากการทำประชาพิจารณ์ คือ เสนอให้มีการบรรจุโครงการจัดถนนคนเดินไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ในปีงบประมาณถัดไป เนื่องจากการจัดถนนคนเดินมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับแผนฯ ดังกล่าวของเทศบาลตำลบราไวย์ เพื่อให้มีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกับนโยบายของทางเทศบาลตำบลราไวย์ ซึ่งการจัดทำถนนคนเดินจะสามารถจัดทำขึ้นได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของคนในชุมชนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน โดยจะต้องให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุน เพื่อผลักดันอีกทางหนึ่งรูปแบบจำลองของถนนคนเดิน (Model) ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต คือ การนำสัญลักษณ์ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มาจำลองแบบและจัดแสดงในแต่ละพื้นที่ เพื่อแสดงให้เห็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ 3 กลุ่ม ได้แก่คือ กลุ่มชาวไทยพุทธ กลุ่มชาวไทยมุสลิม และกลุ่มชาวไทยใหม่ โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่ ดังนี้ (Zone A) พื้นที่สำหรับขายของทั่วไป (Zone B) เป็นพื้นที่สำหรับของพื้นเมืองสินค้า OTOP และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (Zone C) พื้นที่จำหน่ายอาหารอาหารพื้นเมือง และอาหารปิ้งย่าง โดยแยกเป็น อาหารไทย อาหารมุสลิม อาหารไทยใหม่และอาหารนานาชาติและ (Zone D) เวทีใหญ่สำหรับการแสดงกิจกรรม และโต๊ะสำหรับนั่งทานอาหาร โดยจะจัดให้มีการแสดงของชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยใหม่และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในชุมชนตำบลราไวย์ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจรรมต่าง ๆ ของถนนคนเดิน เพื่อให้เกิดความแตกต่างและรูปแบบใหม่ในการจัดถนนคนเดินขึ้นมา
วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ