รหัสดีโอไอ | 10.14456/jis.2016.11 |
---|---|
Creator | โกวิทย์ พิมพวง |
Title | โครงสร้างประโยคพื้นฐานภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ:การเปรียบเทียบเพื่อการแปลเป็นภาษาไทย |
Publisher | คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Publication Year | 2559 |
Journal Title | วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 46-66 |
ISSN | 2228-8864 |
Abstract | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาโครงสร้างประโยคพื้นฐานภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ : การเปรียบเทียบ เพื่อการแปลเป็นภาษาไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความสัมพันธ์ด้านเชื้อสายระหว่างภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างประโยคพื้นฐานของภาษาบาลีกับภาษาอังกฤษ และ 3) เพื่อศึกษากลวิธีการแปลถ่ายทอดเนื้อหาในประโยคภาษาบาลีและประโยคภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ผลการศึกษาพบว่า ภาษาบาลีและภาษาอังกฤษมาจากภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียนเดียวกัน มีลักษณะเด่น คือ เป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย ประโยคหรือวาจกในภาษาบาลีเป็นแบบ SOV มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ ประโยคลิงคัตถะ ประโยคกัตตุวาจก ประโยคกัมมวาจก ประโยคภาววาจก ประโยคเหตุกัตตุวาจกและประโยคเหตุกัมมวาจก ส่วนประโยคภาษาอังกฤษเป็นแบบ SVO มี 3 ชนิด ได้แก่ ประโยคกัตตุวาจก ประโยคกัมมวาจกและประโยคเหตุกัตตุวาจก อย่างไรก็ตาม ถ้าว่าตามลักษณะเนื้อความในภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ พบประโยค 4 ชนิดเหมือนกัน ได้แก่ ประโยคความเดียวหรือเอกัตถประโยค ประโยคความรวมหรืออเนกัตถประโยค ประโยคความซ้อนหรือสังกรประโยคและประโยคความผสมหรืออเนกัตถสังกรประโยค ส่วนการแปลประโยคภาษาบาลีและภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีกลวิธีการแปลที่คล้ายคลึงกัน ข้อความที่แปลนั้นควรมีลักษณะ ดังนี้ 1) ความชัดเจน 2) ภาษาเหมาะสม 3) ภาษาเรียบง่ายและตรงตามต้นฉบับ และ 4) ความสมเหตุสมผลเท่า ๆ กับภาษาต้นฉบับ |
ดิจิตอลไฟล์ |
Digital File |