![]() |
การสื่อสารทางการเมือง ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วิเชียร ช่วยหนู, สิริพรรณ นกสวน สวัสดี |
Title | การสื่อสารทางการเมือง ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ |
Publisher | คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 74-94 |
Keyword | การสื่อสาร, การสื่อสารทางการเมือง, ยุทธศาสตรร์การสื่อสาร, ทางการเมือง, กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมือง |
URL Website | http://jis.fis.psu.ac.th/index.php/en/ |
ISSN | 2228-8864 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนด ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ และ นายชูวิทย์ได้ใช้ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การสื่อสารทางการเมือง ในห้วงเวลาต่างๆ อย่างไร จนสามารถประสบความสำเร็จในการเมืองระดับชาติ โดยศึกษาใน 2 ช่วงเวลา คือ ก่อนเข้าสู่การเป?นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ.2546) และการ รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ตลอดจนการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ช่วงที่ 1 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ การสื่อสารของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ คือ การรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก เจ้าหน้าที่รัฐ และการป้องกันตัวเองจากผู้ไม่หวังดี มียุทธศาสตร์คือ การสื่อสารเพื่อ ความอยู่รอด โดยใช้กลยุทธ์การสร้างข่าวด้วยทักษะทางการสื่อสารทั้งคำพูด และท่าทางประกอบกับข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่เคยมีใครเคยเปิดเผย ทำให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวของนายชูวิทย์ตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ได้ศึกษา ช่วงที่ 2 การเปลี่ยนแปลงกติกาการเลือกตั้งเป็นระบบบัญชีรายชื่อ (Party List) โดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง และไม่มีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ อีกทั้ง สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองสร้างความเบื่อหน่ายให้กับประชาชน นายชูวิทย์เสนอนโยบายขอเป็นฝ่ายค้าน ตอกย้ำความเป็นจอมแฉ ตอบสนองต่อ คนกลุ่มที่ไม่มีความผูกพันกับพรรคการเมือง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และเมื่อเข้าสู่ สภาผู้แทนราษฎรนายชูวิทย์ก็ได้ใช้ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะทาง เฟซบุ้กกำหนดประเด็นสื่อสารไปยังประชาชนโดยตรง |