การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้น สู่ความสำเร็จ (6 A to S Model)
รหัสดีโอไอ
Creator ยุคลธร สังข์สอน
Title การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้น สู่ความสำเร็จ (6 A to S Model)
Publisher University of Phayao
Publication Year 2565
Journal Title Journal of Humanities and Social Sciences University of Phayao
Journal Vol. 10
Journal No. 1
Page no. 24-44
Keyword การพัฒนารูปแบบการนิเทศ, ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, กระบวนการบันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จ
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up
Website title เว็บไซต์Thaijo
ISSN 2286-9395
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จ (6 A to S Model) วิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้น สู่ความสำเร็จ ขั้นตอนที่ 2 การยืนยันรูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จ (6 A to S Model) ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลจากการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จ (6 A to S Model) และขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้น สู่ความสำเร็จ (6 A to S Model) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้น สู่ความสำเร็จ (6 A to S Model) มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการนิเทศ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขอบข่ายการนิเทศ 4) กระบวนการนิเทศ และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จรูปแบบการนิเทศมีความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริหารสถานศึกษา และครูมีความรู้ความเข้าใจหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ สูงกว่า ก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ เท่ากับร้อยละ 52.25 และมีความพึงพอใจที่มีต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่สุด ครูผู้สอนมีระดับการปฏิบัติเพื่อการยกระดับผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนร้อยละเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 เท่ากับร้อยละ 9.14 โรงเรียนมีผลการทดสอบปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 อย่างน้อยร้อยละ 3 เท่ากับร้อยละ 76.64 และผลการศึกษาความพึงพอใจของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
University of Phayao

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ