![]() |
การพัฒนาออนโทโลยีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเภทวัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พิเชษฎ์ จุลรอด |
Title | การพัฒนาออนโทโลยีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเภทวัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
Contributor | ภาณุ ปัณฑุกำพล |
Publisher | University of Phayao |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Journal of Humanities and Social Sciences University of Phayao |
Journal Vol. | 10 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 320-337 |
Keyword | ออนโทโลยี, แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม, แหล่งท่องเที่ยวในวัด |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up |
Website title | เว็บไซต์Thaijo |
ISSN | 2286-9395 |
Abstract | งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาออนโทโลยีเชิงความหมายของความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากการรวบรวมแหล่งข้อมูลซึ่งเป็นต้นทุนที่มีอยู่ใน ศาสนสถานโดยใช้ทฤษฎีการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเภทวัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1) การกำหนดความต้องการออนโทโลยี โดยการศึกษาข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเภทวัดจากหนังสือ ตำรา เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศึกษาพฤติกรรมในการสืบค้นข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัด โดยการสำรวจจากแบบสอบถามพฤติกรรมการสืบค้นข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่จำนวน 400 คนจากแบบสอบถามออนไลน์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลคำสืบค้นโดยใช้ความถี่ ร้อยละเพื่อจับกลุ่มคำ ระยะที่ 2) การพัฒนาออนโทโลยีโดยใช้โปรแกรมโปรทีเจ (Protégé) ออกแบบคลาส กำหนดคลาสหลัก คลาสย่อย ลำดับชั้น คุณสมบัติ เพื่อสาร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลในแต่ละคลาส และระยะที่ 3) การประเมินออนโทโลยี แบ่งการประเมินเป็น 2 ส่วน คือ การประเมินความเหมาะสมของโครงสร้างออนโทโลยีโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยแบบประเมินความเที่ยงตรงของการสร้างความสำพันธ์กันระหว่างคลาส และการประเมินข้อมูลการจัดกลุ่มทางวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาออนโทโลยีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเภทวัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ค่าการระบุนิยาม ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการพัฒนา พบว่ามีความเหมาะสม (ค่าคะแนนเฉลี่ย = 0.93) ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การจัดกลุ่มและการจัดลำดับของคลาสภายในออนโทโลยี (ค่าคะแนน = 1.00 ) การกำหนดชื่อความสัมพันธ์และคุณสมบัติของคลาส (ค่าคะแนน = 0.89) ความถูกต้องเหมาะสมของเนื้อหาของออนโทโลยีในภาพรวม (ค่าคะแนน = 1.00) |