![]() |
การบริหารจัดการโรงแรมบูติค ในเขตกรุงเทพมหานคร สาขาการจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการกรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยพะเยา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ภูมิพัฒน์ ทองคำ |
Title | การบริหารจัดการโรงแรมบูติค ในเขตกรุงเทพมหานคร สาขาการจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการกรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยพะเยา |
Contributor | ชวลีย์ ณ ถลาง |
Publisher | University of Phayao |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Journal of Humanities and Social Sciences University of Phayao |
Journal Vol. | 10 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 226-238 |
Keyword | บริหารจัดการ, โรงแรมบูติค, กรุงเทพมหานคร |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up |
Website title | เว็บไซต์Thaijo |
ISSN | 2286-9395 |
Abstract | งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโรงแรมบูติคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยได้ใช้ศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method) ผ่านการศึกษาแนวคิดทฤษฎี สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยออกมาเป็นแบบสอบสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth interview) สำหรับในการเก็บข้อมูลจากเจ้าของธุรกิจโรงแรมบูติค หรือผู้บริหารระดับสูงของโรงแรมบูติค ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 แห่ง พบว่า ด้านแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงแรมบูติค ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้านการวางแผน (Planning) พบว่า โรงแรมบูติคส่วนใหญ่มีการจัดดำเนินการประชุมการประชุมเป็นรายวัน โดยมากจะนิยมใน 2 รูปแบบ คือ ช่วงเช้า หรือ ช่วงเย็น ด้านการแบ่งโครงสร้างการดำเนินงาน (Organization) พบว่า โรงแรมบูติคส่วนใหญ่มีการแบ่งโครงสร้างการดำเนินงานตามจำนวนห้องพักที่เปิดให้บริการ ซึ่งหากเป็นโรงแรมขนาดเล็กจะมีการแบ่งแผนกใหญ่ ออกเป็น 2-3 แผนก อาทิ แผนกบริการส่วนหน้า แผนกแม่บ้าน และแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับด้านการคัดเลือกพนักงาน (Staffing) พบว่า โรงแรมบูติคใช้การวัดทัศนคติในงานบริการ ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งงานและความสามารถทางภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เช่น ภาษาจีน ในการสื่อสารเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ในด้านการประสานงาน (Coordinating) พบว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญสำคัญในการทำงานมากขึ้น ทำการส่งต่อข้อมูล ข่าวสารตลอดจนปัญหาต่าง ๆ และวิธีการแก้ไข การสั่งการ (Directing) พบว่า โรงแรมบูติคส่วนใหญ่มีการออกแบบการสั่งงานโดยตรงระหว่างเจ้าของและพนักงานซึ่งลดขั้นตอนการตัดสินใจได้ทันท่วงที ด้านการจัดทำรายงาน (Reporting) พบว่า โรงแรมบูติคส่วนใหญ่มีระบบการรายงานการปฏิบัติงานในแต่ละวันในรูปแบบของ Logbook ด้านการทำงบประมาณ (Budgeting) พบว่า โรงแรมบูติคส่วนใหญ่นั้นมีการควบคุมการทำงบประมานผ่านการใช้ระบบ PNL ในการดำเนินคำนวน ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบัญชีเพื่อเปรียบเทียบงบประมาณกับยอดขาย กำไร แต่ละเดือน |